วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

บทที่1 เราจะศึกษาชีววิทยาได้อย่างไร

1.เราจะศึกษาชีววิทยากันอย่างไร


     BIOLOGY หมายถึง การศึกษาความคิดของคนที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต หรือ วิชาที่ว่าด้วยความคิดของคนเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต อย่างมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์



                ข้อสังเกต
      สมมติฐาน คือ ผลหรือคำตอบที่อาจเป็นไปได้ของปัญหา
      ทฤษฎี เป็นข้อสรุปที่ได้รับการยืนยันจากผลการทดลอง (แต่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าผลการทดลองครั้งใหม่ เปลี่ยนไปจากเดิม)
       กฎ เป็นข้อสรุปที่ได้รับการพิสูจน์ยืนยันหลายๆครั้ง ในสภาวะที่แตกต่างกัน
                ตัวอย่างข้อสอบ
         จากคำกล่าวของนักโภชนาการคนหนึ่ง ที่ว่า “มะนาวน่าจะช่วยป้องกันและทำให้อาการของโรคลักปิดลักเปิดลดลงได้” คำกล่าวนี้จัดเป็น
ก. สรุปผล
ข. ทฤษฎี
ค. สมมติฐาน
ง. ข้อเท็จจริง
ตอบ ค.
                   ขอบข่ายของวิชาชีววิทยา
        ชีววิทยาแบ่งออกเป็นสาขาต่างๆตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต ดังนี้
1. พฤกษศาสตร์ (BOTANY) เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพืช เช่น AGROSTOLOGY
(ศึกษาเกี่ยวกับหญ้า) PTERIDOGLOGY (ศึกษาเกี่ยวกับเฟิร์น) เป็นต้น
2. สัตวศาสตร์ (ZOOLOGY) เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องราวของสัตว์เช่น ICTHYOLOGY (มีนวิทยาศึกษาเกี่ยวกับปลา) ENTOMOLOGY (กีฎวิทยาศึกษาเกี่ยวกับแมลง) เป็นต้น
3. จุลชีววิทยา (MICROBIOLOGY) เป็นวิชาที่ศึกษาเรื่องราวของจุลินทรีย์เช่น MYCOLOGY (กิณวิทยาศึกษาเกี่ยวกับเห็ดรา) BACTERIOLOGY (บัคเตรีวิทยา ศึกษาเกี่ยวกับแบคทีเรีย) เป็นต้น
              กล้องจุลทรรศน์
กำลังขยายของกล้องจุลทรรศน์ = กำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ x กำลังขยายของเลนส์ใกล้ตา

ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างของกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงและกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

                ข้อควรระวัง
     ภาพที่มองผ่านกล้องจุลทรรศน์เป็นภาพเสมือนหัวกลับ ภาพที่มองเห็นในกล้องจะกลับจากซ้าย
เป็นขวาและบนลงล่างเสมอ

       ตัวอย่างข้อสอบ
         เมื่อนำอักษร “ม” ไปทำ wet mount และส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบเลนส์ประกอบ จะปรากฏภาพเป็นแบบใด
ก.
ข.

ตอบ ข.


ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น