วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

บทที่17 การขับถ่ายและการรักษาสมดุลของร่างกาย

17. การขับถ่ายและการรักษาสมดุลของร่างกาย


                   การขับถ่ายของสิ่งมีชีวิต



           ข้อสังเกต     
        แมลงเป็นสัตว์ที่มีระบบขับถ่าย ที่มีความเกี่ยวข้องกับทางเดินอาหารมากที่สุด คือ ของเสียจะปนไปกับอุจจาระ และผ่านออกทางทวารหนัก
     ไต เป็นอวัยวะขับถ่ายของคน
-  มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว
-  GLOMERULUS
-  BOWMAN’S CAPSULE มีลักษณะคล้ายถ้วย เป็นแหล่งที่เกิดกระบวนการกรองสาร
-  ท่อขดส่วนต้น (DISTAL CONVOLUTED TUBULE) เป็นบริเวณที่มีการดูดกลับสารที่มีประโยชน์
-  ALDOSTERONE จากต่อมหมวกไต ควบคุมการดูดกลับของโซเดียมและกลูโคส
-  ADH (VASOPRESSIN) จากต่อมใต้สมองส่วนหลัง ควบคุมการดูดกลับของน้ำ โดยการสั่งการจาก HYPOTHALAMUS ซึ่งมีเซลล์ที่สามารถรับรู้ปริมาณน้ำในเลือดคอยควบคุม
              
                       การดูดกลับของสารที่ไตเกิดขึ้นโดยอาศัย 2 กระบวนการ คือ
-  ACTIVE TRANSPORT เป็นการดูดกลับของสารที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย เช่น กลูโคส วิตามิน กรดอะมิโน ฮอร์โมน และอิออนต่างๆ
-  OSMOSIS เป็นการดูดกลับของน้ำ

            ตัวอย่างข้อสอบ
      ไตของคนปกติจะมีสารที่กรองผ่านโกลเมอรูลัสเข้ามาในหน่วย เนฟรอน มากน้อยตามลำดับดังนี้
ก.  โพลีเปปไทด์ และกรดอะมิโน, คลอไรด์, กลูโคส, ยูเรีย
ข.  ยูเรีย, คลอไรด์, กลูโคส, โพลีเปปไทด์ และกรดอะมิโน
ค.  น้ำ, ยูเรีย, กลูโคส, โพลีเปปไทด์ และกรดอะมิโน
ง.  น้ำ, โพลีเปปไทด์ และกรดอะมิโน, ยูเรีย, กลูโคส
ตอบ ก.

      เหตุผลที่สำคัญที่สุดที่การปลูกถ่ายไต (kidney transplatation) เป็นที่นิยมแพร่หลายกว่าการปลูกถ่าย อวัยวะสำคัญอื่นๆ เพราะเหตุใด
ก. ผู้ได้รับมีโอกาสรอดชีวิตได้
ข. ทั้งที่ผู้ให้และผู้รับสามารถรอดชีวิตได้
ค. สะดวกในการผ่าตัดมากกว่าการปลูกถ่ายอวัยวะอื่นๆ
ง. การใช้ไตเทียมไม่สะดวกในการประกอบภารกิจของผู้ป่วย
ตอบ ข.

                                  การรักษาอุณหภูมิภายในร่างกาย
      หากจำแนกสัตว์ตามความสามารถในการรักษาอุณหภูมิภายในร่างกายจะแบ่งสัตว์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1.  สัตว์เลือดอุ่น (HOMEOTHERMIC ANIMAL) เป็นสัตว์ที่สามารถรักษาระดับอุณหภูมิภายในร่างกายให้คงที่อยู่ได้ ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
2.  สัตว์เลือดเย็น (POIKILOTHERMIC ANIMAL) เป็นสัตว์ที่อุณหภูมิภายในร่างกายเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน และพวกปลา

                                   สัตว์มีกลไกในการรักษาอุณหภูมิของร่างกาย คือ
1.   โครงสร้างของร่างกาย เช่น สัตว์ที่อยู่ในเขตหนาวจะมีขนยาวกว่าสัตว์ที่อยู่ในเขตร้อน
2.   กลไกทางสรีรวิทยา ไฮโปทาลามัส (HYPOTHALAMUS) จะไวต่ออากาศหนาว

           ข้อควรจำ
     เมื่อได้รับการกระตุ้น ไฮโปทาลามัสจะไปกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้
-   ทำให้เส้นเลือดที่นำเลือดมาเลี้ยงผิวหนังหดตัว ทำให้เลือดที่มาเลี้ยงผิวหนังลดปริมาณลง ร่างกายจะสูญเสียความร้อนน้อยลง
-   กระตุ้นเส้นประสาทควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อโคนขนทำให้ขนลุกชัน และกล้ามเนื้อให้หดตัวจนเกิดอาการสั่น
-   กระตุ้นให้ต่อมไร้ท่อหลั่งฮอร์โมนไปกระตุ้นปฏิกิริยาการสลายอาหารให้ปล่อยพลังงานออกมาเพิ่ม เพื่อชดเชยความร้อนที่ร่างกายสูญเสียไป

              ตัวอย่างข้อสอบ
      ในฤดูหนาวร่างกายของสัตว์เลือดอุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ก.  เส้นเลือดหดตัวและลดอัตราการเต้นของหัวใจ
ข.  เส้นเลือดหดตัวและเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ
ค.  เส้นเลือดขยายตัวและเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ
ง.  เส้นเลือดขยายตัวและลดอัตราการเต้นของหัวใจ
ตอบ ข.

               3. การปรับพฤติกรรม
-   สัตว์ที่ไม่มีเหงื่อเช่น สุนัข จะระบายความร้อนทางลิ้นและเพดานปากในลักษณะที่เรียกว่า หอบ
-   แมว ระบายความร้อนโดยการเลียอุ้งเท้า
-   ควายจะนอนแช่ปลักโคลนเพื่อระบายความร้อนไปสู่น้ำ
-   หลีกเลี่ยงอุณหภูมิหรือสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น
-   การอาศัยอยู่ใน โพรงไม้ และการขุดรูอยู่
-   การออกหากินในเวลากลางคืน

                ข้อควรจำ

      การจำศีลของกบ คือ การอยู่นิ่งๆไม่เคลื่อนไหว มีอัตราเมแทบอลิซึมต่ำมาก อัตราการหายใจและการเต้นของหัวใจและการเต้นของหัวใจต่ำ และใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกาย
การหนีหนาวของ หนู กระรอก และค้างคาวบางชนิด คือ การนิ่งๆไม่เคลื่อนไหว แต่อัตราการหายใจ และเมแทบอลิซึมไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก

                ตัวอย่างข้อสอบ
      หมีที่อยู่ในเขตหนาว เมื่อถึงฤดูหนาวจะขุดโพรงอยู่จนกว่าฤดูหนาวจะหมดไป เราถือว่า เป็นการจำศีลหรือไม่
ก.  เป็นการจำศีล เพราะไม่เคลื่อนไหวตลอดฤดูหนาว
ข.  เป็นการจำศีล เพราะไม่ยอมกินอาหารเลยตลอดฤดูหนาว
ค.  ไม่เป็น เพราะเมแทบอลิซึมและอัตราการหายใจยังคงเดิม
ง.  ไม่เป็น เพราะมีการกินอาหารตุนไว้ก่อนถึงฤดูหนาว
ตอบ ค.

                                 การรักษาสมดุลของกรด-เบสในร่างกาย
กลไกรักษาสมดุลของกรด-เบสมีอยู่ 3 แบบ คือ
1.  ระบบหายใจ โดยการควบคุมปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ของสมองส่วน MEDULLA OBLONGATA
2.  ระบบบัฟเฟอร์ เลือดจะมี pH อยู่ระหว่าง 7.35 – 7.45
3.  ระบบขับถ่าย โดยการขับออกทางปัสสาวะมีประสิทธิภาพในการรักษาสมดุลสูง แต่ทำงานได้ช้ากว่าระบบอื่นๆ

                                  การรักษาสมดุลของร่าตุ
-   ปลาน้ำจืดอยู่ในสารละลายที่มีความเข้มข้นต่ำ จึงมีการถ่ายปัสสาวะบ่อยและเจือจาง มีเซลล์ดูดกลับแร่ธาตุที่เหงือก
-   ปลาทะเลอยู่ในสารละลายที่มีความเข้มข้นสูง จึงไม่มีการถ่ายปัสสาวะบ่อยและมีการขับแร่ธาตุออกทางเหงือก
-   นกทะเลขับแร่ธาตุที่มากเกินไปออกทางต่อมนาสิก (NASAL GLAND)

              ตัวอย่างข้อสอบ
ในปลากระดูกแข็งที่อยู่ทะเลมีกระบวนการใดที่ทำกันอย่างต่อเนื่อง
ก. ต้องการน้ำ และขจัดเกลือ
ข. ขจัดทั้งเกลือและน้ำ
ค. ขจัดน้ำ และต้องการเกลือ
ง. ต้องการทั้งน้ำ และเกลือ
ตอบ ก.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น