วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

บทที่3 สารเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต

3.สารเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีิวิต
ธาตุทั้งหลายประกอบด้วยหน่วยขนาดเล็กเรียกว่าอะตอม (ATOM)ภายในอะตอมประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานคือ
-  นิวเคลียส ประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน
-  อิเล็กตรอนเป็นอนุภาคที่เคลื่อนทีวนอยู่รอบๆนิวเคลียส
ตามปกติอะตอมของธาตุชนิดเดียวกันทุกอะตอมจะมีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากัน

             พันธะเคมี(CHEMICAL BOND) แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1. พันธะไอออนิก (IONIC BOND) เช่น พันธะในโมเลกุลของโซเดียมคลอไรด์(Nacl)
2. พันธะโควาเลนต์(COVALENT BOND) เช่นพันธะในโมเลกุลองก๊าซออกซิเจน(O2)
3. พันธะไฮโดรเจน (HYDROGEN BOND) เช่น แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำ (H2O)


พันธะไออนิก


พันธะโควาเลนต์

พันธะไฮโดรเจน

สารในพันธะไอออนิกมีดังนี้
-  สารอินทรีย์ คือ สารที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นส่วนใหญ่
 สารชีวโมเลกุล คือ สารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลใหญ่และโครงสร้างสลับ ซับซ้อนแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ คือ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน และ กรดนิวคลีอิก

1. คาร์โบไฮเดรต แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
            น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (MONOSACCHARIDE) มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ 3-7 อะตอม ได้แก่ กลีเซอรอลดีไฮด์ (3C) ไรโบส(5C) กลูโคส ฟรุกโทส และกาแลกโทส(6C)
            โอลิโกแซคคาไรด์ (OLIGOSACCHARIDE) ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2-10 โมเลกุลที่พบบ่อยมากที่สุดได้แก่มอลโทส(กลูโคส + กลูโคส) ซูโครส(กลูโคส + ฟรุกโทส)และ แลกโทส(กลูโคส + กาแลกโทส)
            น้ำตาลโมเลกุลใหญ่ (POLYSACCHARIDE) ประกอบด้วยกลูโคส 100-1,000 โมเลกุล มาต่อกันเป็นสาย ได้แก่ แป้ง เซลลูโลส และ ไกลโคเจนเป็นต้น

                ข้อสังเกต
        โอลิโกแซคคาไรด์ และน้ำตาลโมเลกุลใหญ่ จะมีกลูโคส เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยเสมอ

ความสำคัญของคาร์โบไฮเดรต
1. เป็นแหล่งพลังงานหลักของเซลล์สิ่งมีชีวิต
2. เปลี่ยนเป็นสารอื่นเพื่อช่วยซ่อมแซมหรือสร้างส่วนต่างๆของเซลล์
3. เก็บสะสมไว้ในรูปของไกลโคเจน เพื่อไว้ใช้ในยามร่างกายขาดแคลนพลังงาน

                ตัวอย่างข้อสอบ
สารใดบ้างที่เมื่อย่อยเป็นโมเลกุลเดี่ยวแล้ว สามารถทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์
1. FRUCTOSE
2. MALTOSE
3. SUCROSE
4. GLYCOGEN
ก. 1,3
ข. 2,3
ค. 2,4
ง. 2,3,4
ตอบ ง.
                  ไขมัน (LIPID)
        ไขมันแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1. ไขมันธรรมดา (SIMPLE LIPID) เกิดจากกลีเซอรอล 1 โมเลกุลรวมตัวกับกรดไขมัน 1,2 หรือ 3 โมเลกุล กรดไขมันแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
กรดไขมันอิ่มตัว มีพันธะระหว่างคาร์บอนภายในโมเลกุลเป็นพันธะเดี่ยวทั้งหมด พบในน้ำมันสัตว์ และน้ำมันมะพร้าว
กรดไขมันไม่อิ่มตัว มีพันธะระหว่างคาร์บอนภายในโมเลกุลเป็นพันธะคู่อย่างน้อย 1 ตำแหน่ง พบในน้ำมันพืช
2. ไขมันเชิงประกอบ (COMPOUND LIPID) เป็นไขมันที่มีสารอินทรีย์ ประเภทอื่นเป็นองค์ประกอบ เช่น ฟอสโฟลิปิด ไกลโคลิปิด และ ลิโปโปรตีน เป็นต้น
3. อนุพันธ์ของไขมัน (DERIVED LIPID) เป็นสารที่มีคุณสมบัติเหมือนไขมัน แต่มีโครงสร้างพื้นฐานแตกต่างจากไขมันทั่วไป เช่น คลอเรสเตอรอล มีโครงสร้างพื้นฐานที่เฉพาะตัวเป็นวงแหวน 4 วงต่อกัน

                 ข้อควรจำ
        กรดไขมันที่จำเป็น (ESSENTIAL FATTY ACID) เป็นกรดไขมันที่ร่างกายขาดไม่ได้ และไม่สามารถสังเคราะห์ได้ เช่น กรดไลโนเลอิก กรดไลโนเลนิก และ กรดอะราชิโดนิก เป็นต้น

           ความสำคัญของไขมัน
1. เป็นสารที่ให้พลังงานสูงที่สุดคือ 9.0 กิโลแคลอรี่ต่อกรัม
2. เป็นตัวที่ทำละลายวิตามิน เช่น A,D,E,K

                                 โปรตีน
         โปรตีนประกอบขึ้นจากกรดอะมิโนเรียงต่อกันเป็นสายยาว ด้วยพันธะเปปไทด์ กรดอะมิโนมีทั้งสิ้น 20 ชนิด แบ่งออกเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นและกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น กรดอะมิโนที่จำเป็น กรดอะมิโนที่ไม่
จำเป็น


** อาร์จีนีน และ ฮีสทิดีน เป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก
       
       ความสำคัญ
1. เป็นโครงสร้างของเซลล์
2. ให้พลังงานแก่ร่างกายประมาณ 4.2 กิโลแคลอรี่ต่อกรัม
3. ควบคุมการทำงานของร่างกายเช่น ฮอร์โมนอินซูลิน
4. เป็นภูมิคุ้มกัน

      
                                                       การทดสอบอาหาร


                   กรดนิวคลิอิก
        กรดนิวคลิอิกเป็นสารที่ทำหน้าที่เก็บและถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรมจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นต่อไป แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
 DNA (DEOXYRIBONUCLE ACID)
-  RNA (RIBONUCLEIC ACID)

          ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
ปฏิกิริยาในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. ปฏิกิริยาคายพลังงาน (EXERGONIC REACTION)
2. ปฏิกิริยาดูดพลังงาน (ENDERGONIC REACTION)

                  ตัวอย่างข้อสอบ
         ปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นปฏิกิริยาชนิดใด
ก. ปฏิกิริยาคายพลังงานหรือเอนเดอร์โกนิก
ข. ปฏิกิริยาคายพลังงานหรือเอกเซอร์โกนิก
ค. ปฏิกิริยาดูดพลังงานหรือเอนเดอร์โกนิก
ง. ปฏิกิริยาดูดพลังงานหรือเอกเซอร์โกนิก
ตอบ ค.

                              เอนไซม์
     เอนไซม์ เป็นสารอินทรีย์ประเภทโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต โดยการลดระดับพลังงานกระตุ้นลง ทำให้เกิดปฏิกิริยาง่ายขึ้น คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของเอนไซม์คือ มีความเฉพาะเจาะจง(SPECIFICITY) เอนไซม์จะทำหน้าที่ได้ดีที่อุณภูมิและความเป็น กรด-เบสที่เหมาะสม

                 ตัวอย่างข้อสอบ
         คุณลักษณะใดของเอนไซม์ที่สำคัญต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ก. เป็นโปรตีน
ข. ทำงานได้ดีที่อุณหภูมิจำกัด
ค. ทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นกลาง
ง. ช่วยให้เกิดปฏิกิริยาเคมีได้ง่ายขึ้น
ตอบ ง.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น