วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

บทที่9 โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก

9. โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก
       เนื้อเยื่อของพืชแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. เนื้อเยื้อเจริญ ( MERISTMETIC TISSUE ) สามารถแบ่งเซลล์ได้แก่ เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง
2. เนื้อเยื่อถาวร ( PERMANENT TISSUE ) เป็นเนื้อเยื่อที่ไม่มีการแบ่งเซลล์อีกแล้วได้แก่
       2.1 เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ชนิดเดียวกันทำหน้าที่อย่างเดียวกัน เช่น อิพิเดอร์มิส พาเรนไคมา คอลเลนไคมา สเคอเรนไคมา เอนโดเดอร์มิส
       2.2 เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน ประกอยด้วยกลุ่มเซลล์หลายชนิดอยู่ร่วมกันและทำงานร่วมกัน เช่นเนื้อเยื่อท่อลำเลียง
               ตัวอย่างข้อสอบ
       ข้อใดอธิบายการที่พืชเจริญเติบโตได้อย่างไม่จำกัดได้ถูกต้อง
ก. มีเนื้อเยื่อเจริญอยู่ที่ส่วนปลาย
ข. มีระบบรากที่สามารถดูดน้ำและอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ค. สามารถแผ่กิ่งและใบเพื่อรับแสงได้โดยไม่จำกัดอายุขัย
ง. การทำงานของระบบลำเลียงไปอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา
ตอบ ก.


                       โครงสร้างและหน้าที่ของราก      
 รากมีโครงสร้างเรียงลำดับจากภายนอกสู่ภายในดังนี้
1. EPIDERMIS มีลักษณะเหมือนอิพิเดอร์มิสของลำต้นแต่จะมีบางเซลล์ยื่นออกไปเป็นขนราก ( ROOT HAIR )
2. CORTEX ประกอบด้วยเซลล์พาเรนไคมา ทำหน้าที่เก็บสะสมอาหารและน้ำ คอร์เทกซ์ของรากจะกว้างกว่าลำต้น
3. STELE เป็นชั้นที่อยู่ถัด ENDODERMIS ประกอบด้วย
       3.1  PERICYCLE ส่วนใหญ่เรียงตัวแถวเดียว หรือ สองแถวเป็นแหล่งทีเกิดของรากแขนง
       3.2  VASCULAR BUNDLE คือกลุ่มของท่อน้ำท่ออาหารจะอยู๋ภายในวงล้อมของ PERICYCLE
       3.3  PITH เป็นใส้ในของรากเห็นได้ชัดเจนในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

                ข้อควรจำ
       ถ้าดูภาพตัดขวางของรากจากกล้องจุลทรรศน์จะพบว่า
 ในพืชใบเลี้ยงคู่จะมีส่วนกลางสุดเป็นไซเลม
 ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะเป็นพิธ

                ตัวอย่างข้อสอบ
        โครงสร้างใดของพืชใบเลี้ยงคู่ที่ไม่เยื่อแคมเบียม
ก. ใบและราก
ข. รากแขนงและกิ่งก้าน
ค. ใบและกิ่งก้าน
ง.  ใบและต้น
ตอบ ก.

                                      โครงสร้างของลำต้น
       ชั้นของเนื้อเยื่อลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่เรียงตัวจากภายนอกเข้าสู่ภายในตามลำดับดังต่อไปนี้
1. EPIDERMIS เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุด ประกอบด้วยเซลล์เรียงตัวกันชั้นเดียว มีผนังบาง ไม่มีคลอโรพลาสต์
2. CORTEX อยู่ใต้ชั้น EPIDERMIS เป็นชั้นที่มีคลอโรพลาสต์อยู่
3. STELE ประกอบด้วย
       3.1  VASCULAR BUNDLE คือชั้นของเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มๆ คือเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำ ( XYLEM ) และเนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร ( PHLOEM )
       3.2  PITH คือส่วนที่อยุ่ด้านในสุดทำหน้าที่สะสมแป้ง

                 ข้อควรจำ
 VASCUCAR BUNDLE มนลำต้นของพืชใบเลี้ยงคู่จะเรียงเป็นวงรอบลำต้นอย่างเป็นระเบียบ โดยมีท่อลำเลียงอาหารอยู่ด้านนอกและท่อลำเลียงน้ำอยู่ด้านใน
-  ส่วนในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะกระจัดกระจายทั่วลำต้นไม่เป็นระเบียบ และส่วนที่เป็นพิธอาจสลายไปกลายเป็นช่องวงกลม เรียกว่า PITH CAVITY

                   ตัวอย่างข้อสอบ
       ในการตอนกิ่งไม้นั้นการควั่นเอาเปลือกรอบๆ ออกไปมีเนื้อเยื่ออะไรที่ชาวสวนตั้งใจเอาออกเพื่อช่วยให้รากสามารถงอกได้เร็วยิ่งขึ้น
ก.  PHLOEM
ข.  CORK และ กระพี้
ค.  EPIDERMIS
ง.  CAMBIUM
ตอบ ก.

                                           การเจริญเติบโตของรากและลำต้น
       พืชในระยะหลังจากเอมบริโอบริเวณที่จะมีการเจริญเติบโต ได้แก่ปลายราก ปลายยอด ปลายกิ่ง และเนื้อเยื่อเจริญ ( MERISTEMETIC TISSUE ) ที่แบ่งตัวตลอดเวลา การเจริญของพืชที่มีเนื้อไม้จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ
-  ระยะที่ 1 การเจริญเติบโตที่เกิดจากเนื้อเยื่อเจริญที่บริเวณปลายยอด ปลายราก ปละแปรสภาพเป็นเนื้อเยื่อถาวร ( PERMANT TISSUE )ระยะแรกๆ
-  ระยะที่ 2 เป็นการเจริญของเนื้อเยื่อลำเลียงด้านข้าง เป็นผลให้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นพืชขยายขึ้น มีเนื้อไม้มากขึ้น เนื้อไม้ที่เห็นนั้นส่วนใหญ่จะเป็นท่อลำเลียงน้ำ ( XYLEM ) ระยะที่ 2

                  ข้อควรจำ
 วงปี ( ANNUAL RING ) เกิดจากความแตกต่างของขนาดและสีของไซเลมที่เกิดขึ้นในฤดูที่มีปริมาณน้ำมากน้อยแตกต่างกัน
 แก่นไม้ ( HEART WOOD ) เป็นไซเลมที่อยู่ส่วนในสุดของต้น มีสีคล้ำมีความแข็งแรงมาก เนื่องจากมีพวกน้ำมันหรือพวก TANNIN เข้าไปอุดตันทำให้ไม่สามารถลำเลียงน้ำได้
 กระพี้ ( SAP WOOD ) คือไซเลมที่อยู่ถัดแคมเบียมเข้าไป ยังสามารถลำเลียงน้ำได้
 เปลือกไม้ ( BARK ) คือ โฟลเอม รวมกับอิพิเดอร์มิส ( EPIDERMIS )

                  ตัวอย่างข้อสอบ
       ข้อมูลจากวงปีของต้นไม้ในป่าดงดิบแล้งสามารถบอกให้ทราบเรื่องใด
ก.  การเจริญของโฟลเอมในแต่ล่ะปี
ข.  การเจริญของไซเลมในแต่ละปี
ค.  ปริมาณความมากน้อยของน้ำฝนในแต่ล่ะปี
ง.  คุณภาพของเนื้อไม้แต่ละปี
ตอบ ข.

       เนื้อไม้ที่จริงแล้วคือเนื้อเยื่อของ
ก.  PHLOME
ข.  XYLEM
ค.  EPIDERMIS
ง.  CAMBIUM
ตอบ ข.

       เนื้อเยื่อใดในลำต้นที่ถูกสร้างขึ้นมามากที่สุดในการเจริญขั้นที่สอง
ก. ไซเลมระยะที่ 1
ข. ไซเลมระยะที่ 2
ค. โฟลเอมระยะที่ 1
ง. โฟลเอมระยะที่ 2
ตอบ ข.

                                       ใบประกอบด้วยชั้นเซลล์ 2 ชั้น
1. เซลล์อิพิเดอร์มิส ( EPIDERMIS ) เป็นเซลล์ชั้นนอกสุด
2. เซลล์ชั้นมีโซฟิลล์ ( MESOPHYLL ) อยู่ถัดจากอิพิเดอร์มิสเข้าไปประกอบด้วยเซลล์ที่มีรูปร่าง
แตกต่างกัน 2 แบบคือ
 PALISADE CELL อยู่ติดกับอิพิเดอร์มิสด้านบน มีรูปร่างยาวๆเรียงติดกัน มีคลอโรพลาสต์อยู่เป็นจำนวนมากจึงเป็นบริเวณที่มีการสังเคราะห์ด้วนแสงมากที่สุด
 SPONG CELL อยู่ถัดจากอิพิเดอร์มิสด้านล่างขึ้นมา มีรูปร่างค่อนข้างกลม มีคลอโรพลาสต์น้อย เรียงตัวกันอย่างหลวมๆ บริเวณเส้นใบจะมีกลุ่มของไซเลม และ โฟลเอม จับกลุ่มเป็นเนื้อเยื่อลำเลียงแทรกอยู่ในชั้นมีโซฟิลล์นี้

               ข้อควรระวัง
       ตามปกติอิพิเดอร์มิสจะไม่มีคลอโร พลาสต์อยู่ภายใน จะมีอยู่ที่บริเวณเซลล์คุม ( GUARD CELL ) ซึ่งมีอยู่เป็นคู่ๆ พบมากที่ดิพิเดอร์มิสที่อยู่ด้านล่างระหว่างเซลล์คุมทั้งสองใบเป็นปากใบ ( STOMATA )ซึ่งเป็นทางเปิดเข้าออกของ ก๊าซ และไอน้ำ

                ชนิดของใบ
1. ใบเลี้ยง – สะสมอาหาร
2. ใบเกล็ด – เช่นหัวหอม กระเทียม
3. ใบดอก – ใบเฟื่องฟ้า , หน้าวัว , คริสต์มาส
4. ใบแท้

             ตัวอย่างข้อสอบ
       ด้านบนของใบมะม่วงมีสีเข้มมากกว่าด้างล่างเป็นเพราะเหตุใด
ก. ได้รับแสงมากกว่า
ข. พาลิเสดเซลล์เรียงตัวกันแน่นกว่าสปันจีเซลล์
ค. พาลิสเสดเซลล์มีคลอโรพลาสต์มากกว่าสปันจีเซลล์
ง. สปันจีเซลล์มีคลอโรพลาสต์มากกว่าพาลิสดเซลล์
ตอบ ค.

       เนื้อเยื่อลำเลียงของใบอยู่ในเซลล์ชั้นใด
ก. พาลิเสดเซลล์
ข. อิพิเดอร์มิส
ค. สปันจีเซลล์
ง. คลอเรนไคมาเซลล์
ตอบ ค.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น