วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

บทที่10 การสังเคราะห์แสง

10. การสังเคราะห์ด้วยแสง


                                      การค้นคว้าที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
                                       VAN NEIL JEAN BAPTISTE VAN HELMONT
         ได้ทำการทดลองโดยปลูกต้น หลิวหนัก 5 ปอนด์ ด้วยดินหนัก 200 ปอนด์รดด้วยน้ำฝนเป็นเวลา 5 ปี และสรุปว่าน้ำหนักของต้นหลิวที่เพิ่มขึ้นมาจากน้ำ
 VAN NEIL พบว่าแบคทีเรียบางชนิดสารมารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้โดยใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์แทนน้ำ และสรุปว่าออกซิเจนที่เกิดขึ้นจากขบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชน่าจะมาจากการแตกตัวของน้ำ
-  DANIAL ARNON พบว่าในปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสงมี 2 ขั้นตอน คือ
ก.  ปฏิกิริยาที่ใช้แสง ( LIGHT REACTION ) ซึ่งจะมี ATPและ NADPH+H+ เกิดขึ้น
ข.  ปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสง (DARK REACTION) ซึ่งจะมีน้ำตาลเกิดขึ้น

             
ตัวอย่างข้อสอบ
      
      คำกล่าวที่ว่า “การหายใจ การเน่าเปื่อย และการตายของสัตว์ทำให้อากาศเสีย แต่พืชกลับทำให้อากาศเสียบริสุทธิ์ขึ้น และมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต” เป็นคำกล่าวของ
ก. แวน เฮลมองท์
ข. โจเซฟ พริสท์ลีย์
ค.  แจน อิเก็นฮูซ
ง.  ธีโอดอร์เดอ โซซูร์
ตอบ ข.

                          ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในกระบวนการณ์สังเคราะห์ด้วยแสง
       แหล่งที่กำเนิดการณ์สังเคราะห์ด้วยแสง
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดขึ้นที่คลอโรพลาสต์ ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายไมโตคอนเดรีย
ก. ปฏิกริยาที่ใช้แสง เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากการที่แสงทำให้อิเลคตรอนของคลอโรฟิลล์มีพลังงานสูงขึ้นจนหลุดออกจากโมเลกุลและถูกถ่ายทอดไปเป็นขั้นๆ 2ลักษณะคือ
1.  การถ่ายทอดอิเลคตรอนแบบเป็นวัฎจักร (CYCLIC ELECTRON TRANSFER) ได้พลังงานในรูปของ ATP 1 ATP ต่อการถ่ายทอดอิเลคตรอน 1 คู่
2.  การถ่ายทอดอิเลคตรอนแบบไม่เป็นวัฏจักร (NON-CYCLIC ELECTRON TRANSFER) การถ่ายทอดอิเลคตรอนแบบนี้จะให้ 2ATP และNADPH+H+

            ข้อควรจำ
       การถ่ายทอดอิเลคตรอนแบบเป็นวัฏจักร จะเกี่ยวข้องกับรงควัตถุ ระบบแสง I(P700)เท่านั้น ส่วนการถ่ายทอดอิเลคตรอนแบบไม่เป็นวัฎจักรจะเกี่ยวข้องกับรงควัตถุทั้งระบบ แสง I(P700) และระบบแสง II (P680)

             ตัวอย่างข้อสอบ

       สารใดที่เป็นให้โปรตรอนละอิเลคตรอนที่แท้จริงในปฏิกิริยาสังเคราะห์ด้วยแสง
ก. คลอโรฟิลล์
ข.  NADPH+H+
ค.  CO2
ง.  H2O
ตอบ ง.

       ระบบแสงที่1 จะรับอิเลคตรอนจาก
ก.  น้ำ
ข.  คลอโรฟิลล์
ค.  ระบบแสงที่2
ง.  NADP
ตอบ ค.

ข. ปฏิกริยาไม่ใช้แสง (DARK REACTION) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องมีแสงเพื่อเปลี่ยน CO2        ให้เป็นสารประกอบคาร์โบไฮเดรต โดยใช้ผลผลิตที่ได้จากปฏิกิริยาที่ใช้แสง คือ NADPH+H+ และ ATP อาจเรียกกระบวนการนี้ว่า คาร์บอนไดออกไซด์ฟิกเซชัน (CO2 FIXATION)

           ข้อควรจำ
       การตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ของพืชแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพแตกต่างกัน
 พืชส่วนใหญ่ เช่น ข้าวเจ้า ข้าวบาร์เล่ย์ และถั่วต่างๆ เรียกว่าพืช C3
 พืชบางชนิด เช่น ข้าวโพด อ้อย ข้าวฟ่าง เรียกว่าพืช C4
พืช C4 จะมีประสิทธิภาพในการตรึง CO2 มากกว่าพืช C3 เนื่องจากมีครอโรพลาสในบันเดิลชีทเซลล์

            ตัวอย่างข้อสอบ
       พืชกลุ่มใดมีประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงสูงสุด
ก.  อ้อย ข้าวโพด ข้าวฟ่าง
ข.  มันสำปะหลัง มะพร้าว ละหุ่ง
ค.  นุ่น สบู่ดำ ฝ้าย
ง.  หญ้า ผักตบชวา ไผ่
ตอบ ก.

                                   รงควัตถุที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
       รงควัตถุที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆคือ
1. คลอโรฟิลล์(CHLOROPHYLL) เป็นรงควัตถุที่มีสีเขียวทำหน้าที่ดูดพลังงานจากดวงอาทิตย์และแสงประดิษฐ์ต่างๆ เพื่อนำมาสร้างอาหาร
              ข้อควรจำ
       คลอโรฟิลล์จะดูดแสงสีน้ำเงินได้ดีที่สุด รองลงมาคือแสงสีแดงแต่สามารถดูดแสงสีเขียวได้น้อยที่สุด
2. แคโรทีนอยด์ (CAROTENIOD) เป็นสารประกอบประเภทไขมัน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
  แคโรทีน (CAROTENE) เป็นรงควัตถุที่มีสีส้ม แดง แสด
  แซนโธฟิลล์ (XANTHOPHYLL) เป็นรงควัตถุ ที่มีสีเหลืองน้ำตาล
3. ไฟโคบิลิน (PHYCOBILIN) แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
 ไฟโคอีริทริน (PHYCOERYTHRIN) เป็นรงควัตถุสีแดง
 ไฟโคไซยานิน (PHYCOCYANIN) เป็นรงควัตถุสีน้ำเงิน

           ข้อควรจำ
      สิ่งมีชีวิตที่สังเคราะห์แสงได้ทุกชนิดจะมีแคโรทีนอยด์เป็นองค์ประกอบเสมอ
            ตัวอย่างข้อสอบ
ถ้าไม่ต้องการให้มีตะไคร่น้ำขึ้นจับที่ตู้เลี้ยงปลา ควรจะต้องติดหลอดไฟสีอะไรเหนือตู้เลี้ยงปลานี้
ก. แดง
ข. เขียว
ค. น้ำเงิน
ง. ฟ้า
ตอบ ข.

                        ปัจจัยบางประการที่มีอิทธิพลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง
1. อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงคือประมาณ 0-40๐C
2. ความเข้มของแสง เมื่อความเข้มแสงเพิ่มขึ้นอัตราการสังเคราะห์แสงก็จะเพิ่มขึ้นด้วย จนถึงจุดหนึ่งก็จะคงที่
3. คาร์บอนไดออกไซด์ ถ้ามีปริมาณมาก อัตราการสังเคราะห์แสงก็จะเพิ่มขึ้นจนถึงจุดหนึ่งจึงคงที่
4. จำนวนคลอโรฟิลล์และรงควัตถุที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

              ตัวอย่างข้อสอบ
      พฤติกรรมของชาวสวนข้อใดที่เป็นประโยชน์ต่อกรเพิ่มอัตราการสังเคราะห์แสง
ก. รดน้ำในช่วงเช้าและเย็น
ข. ให้ปุ๋ยอินทรีย์สลับกับปุ๋ยเคมีเป็นครั้งคราว
ค. กำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอและปลูกพืชผสมผสาน
ง. สุมไฟเผาหญ้าบริเวณสวนในตอนกลางวัน
ตอบ ง.









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น