วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

บทที่11 การแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำ และการลำเลียงสารในพืช

11. การแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำ และการลำเลียงสารในพืช       


                                           การแลกเปลี่ยนก๊าซของพืช
      พืชมีการแลกเปลี่ยนก๊าซเกิดขึ้นหลายแห่ง ดังนี้ คือ
 ราก ออกซิเจนที่แทรกอยู่ในดินจะแพร่เข้าไปทางขนราก(ROOT HAIR)
 ลำต้น การแลกเปลี่ยนก๊าซจะเกิดขึ้นที่เลนติเซล(LENTICEL)
 ใบ การแลกเปลี่ยนก๊าซเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเกิดที่ปากใบ(STOMATA)

                              การหายใจของพืชภายหลังการเก็บเกี่ยว
      ภายหลังจากการเก็บเกี่ยวพืชแล้ว พืชเหล่านั้นจะมีการหายใจแตกต่างกัน
 พืชที่มีอัตราการหายใจหลังการเก็บเกี่ยวสูง เช่น ผักกาดหอม ผักป่วยแล้ง
 พืชที่มีอัตราการหายใจต่ำ เช่น มันฝรั่ง
 พืชบางชนิดหลังจากการเก็บเกี่ยวอัตราการหายใจจะลดลง เช่น องุ่น ส้ม มะนาว สับปะรด เงาะ มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ แตงกวา
      พืชต่างชนิดกันก็มีอัตราการหายใจแตกต่างกัน เช่น ดอกคาร์เนชั่นมีอัตราการหายใจสูงกว่าดอกเบญจมาสประมาณ 3-4 เท่า

              ข้อควรสังเกต
      พืชที่มีอัตราการหายใจหลังเก็บเกี่ยวสูง จะเหี่ยวเฉาเร็วกว่าพืชที่มีการหายใจหลังเก็บเกี่ยวต่ำ
การคายน้ำของพืช
 ตามปกติ พืชจะคายน้ำในรูปของไอน้ำทางปากใบ
 ถ้าความชื้นในอากาศสูง ลมสงบ และอุณหภูมิต่ำ พืชจะคายน้ำออกมาในรูปของหยดน้ำทางรูเปิดปลายใบ(HYDATHODE) เรียกกระบวนการนี้ว่า GUTTATION

               ตัวอย่างข้อสอบ
      การคายน้ำที่มีลักษณะเป็นไอน้ำจะคายออกมาทางใด
ก. ไฮดาโทด ปากใบ
ข. เลนทีเซล เซลล์คุม
ค. ปากใบ เลนทิเซล
ง. ไฮดาโทด เซลล์คุม
ตอบ ค.

      กระบวนการกัตเตชั่น
ก.  มีการลำเลียงน้ำไปตาม ไซเลมอย่างรวดเร็ว
ข.  พืชจะสูญเสียน้ำไปมากกว่าวิธีอื่น
ค.  มีการสูญเสียเกลือแร่ต่างๆ
ง.  รากมีการดูดน้ำมากเกินไป
ตอบ ค.
                  การดูดน้ำของพืช
      น้ำเข้าสู่รากทางขนรากได้โดย
 กระบวนการออสโมซิส
 การแพร่ธรรมดา(DIFFUSION) โดยผ่านไปตามผนังเซลล์และช่องว่างระหว่างเซลล์
                  การลำเลียงน้ำของพืช
      การลำเลียงน้ำของพืช จากรากขึ้นไปสู่ยอดเกิดขึ้นโดยอาศัยกระบวนการต่างๆคือ
1. แรงดึงจากการคายน้ำ (TRANSPIRATION PULL) เมื่อพืชมีการคายน้ำทางปากใบ
2. แรงดันราก(ROOT PRESSURE) เมื่อ รากดูดน้ำเข้าสู่รากมากๆ จะเกิดแรงดันดันให้น้ำเคลื่อนที่เข้าไปสู่เซลล์ถัดไปตามท่อลำเลียงน้ำขึ้นสู่ยอด
3. CAPILLARY ACTION เกิดขึ้นได้เนื่องจาก แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำกับผนังด้านข้างหลอดในท่อลำเลียงของไซเลม (ADHESION)

               ข้อควรจำ
      กระบวนการที่มีผลต่อการลำเลียงน้ำมากที่สุดคือแรงดึงจากการคายน้ำ

               ตัวอย่างข้อสอบ
      ในเวลากลางวันการลำเลียงน้ำขึ้นไปสู่ยอดสูงมากกว่า 100ฟุต เกิดขึ้นได้โดยกลไกแบบใด
ก. ทราสสปิเรชั่นพูล
ข. โคฮีชันและแอดฮีชัน
ค. ทรานสปิเรชัน โคฮีชันและแอดฮีชัน
ง. แรงดันรากและคะปิลลารี่แอกชั้น
ตอบ ค.
                             การลำเลียงแร่ธาตุ
1. การแพร่ธรรมดาจากบริเวณที่มีแร่ธาตุมากเข้าสู่บริเวณที่มีแร่ธาตุน้อย
2. ACTIVE TRANSPORT เป็นการนำแร่ธาตุจากบริเวณที่มีความเข้มข้นน้อย ไปยังบริเวณที่มีแร่ธาตุมากกว่า โดยต้องใช้พลังงานจากการหายใจช่วย

                 ข้อควรระวัง
      การลำเลียงแร่ธาตุเกิดขึ้นร่วมกับการลำเลียงน้ำในไซเลม

                ตัวอย่างข้อสอบ
      กระบวนการที่สำคัญที่สุดในการดูดแร่ธาตุเข้าไปในรากของพืช คือ
ก. OSMOSIS
ข. DIFFUSION
ค. ACTIVE TRANSPORT
ง. FACILITATE
ตอบ ค.
                                        ธาตุอาหารที่พืชต้องการ
      ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ
1. ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมาก ได้แก่
     -  ธาตุอาหารหลัก คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
     -  ธาตุอาหารรอง ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม และซัลเฟอร์
2. ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อย ได้แก่เหล็ก แมงกานิส สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิดินัม และคลอรีน
                                          การลำเลียงอาหาร
      มึนซ์(MUNCH) อธิบายการลำเลียงอาหารว่า เมื่อพืชสังเคราะห์แสง ได้ผลผลิตเป็นน้ำตาลอยู่ในเซลล์ ทำให้น้ำออสโมซิสเข้าสู่เซลล์ จนเกิดแรงดันเต่งขึ้น จะดันให้สารละลายอาหารไหลเข้าสู่เซลล์ข้างเคียง และเกิดขึ้นเป็นทอดๆเข้าสู่โฟลเอม จนถึงเซลล์ปลายทางจะมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงให้น้ำตาลเป็นแป้ง ซึ่งเป็นสารที่ไม่ละลายน้ำทำให้มีแรงดันออสโมติกต่ำ จึงหยุดเคลื่อนที่

            ข้อควรระวัง
 การลำเลียงอาหาร เกิดขึ้นทั้ง2ทิศทาง จากใบสู่ยอด และจากใบสู่ราก
 การลำเลียงน้ำเกิดขึ้นทิศทางเดียวคือ จากรากสู่ยอด

             ตัวอย่างข้อสอบ
      สมมติฐานของมึนซ์ ข้อวามใดถูกต้องที่สุด
ก.  สารละลายอาหารออสโมซิส ไปยังเซลล์ปลายทางโดยอาศัยแรงดันออสโมติก
ข.  สารละลายอาหารออสโมซิส ไปยังเซลล์ปลายทางโดยอาศัยแรงดันเต่ง
ค.  สารละลายอาหารเคลื่อนไปเป็นกลุ่มก้อนไปยังเซลล์ปลายทางโดยอาศัยแรงดันออสโมติก
ง.  สารละลายอาหารเคลื่อนไปเป็นกลุ่มก้อน ไปยังเซลล์ปลายทางโดยอาศัยแรงดันเต่ง
ตอบ ค.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น