วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

บทที่5 การเจริญและการและการแบ่งเซลล์

5. การเจริญเติบโตและการแบ่งเซลล์
     การแบ่งเซลล์ของสิ่งมีชีวิตพวกยูคาริโอต มีกระบวนการที่สำคัญ 2 ขั้นตอน คือ
1.  การแบ่งนิวเคลียส (NUCLEAR DIVISION) จำแนกออกเป็น 2 แบบ คือ
     ก.    การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโตซิส(MITOSIS)เป็นการแบ่งนิวเคลียสของเซลล์ร่างกายโดยทั่วไป (SOMATIC CELL) หลังจากแบ่งเซลล์เสร็จสิ้นแล้ว เซลล์จะยังคงมีจำนวนโครโมโซมเท่าเดิม
     ข.    การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโอซิส(MEIOSIS)
เป็นกระบวนการแบ่งนิวเคลียสเพื่อให้ได้เซลล์สืบพันธุ์ โดยแต่ละเซลล์ที่ได้มีจำนวนโครโมโซมลดลงเหลือครึ่งหนึ่งของเซลล์เดิม


MITOSIS  
                 กระบวนการแบ่งไซโทพลาสซึม (CYTOPLASMIC DIVISION)
       การแบ่งเซลล์แบบไมโตซิส
1. ระยะอินเตอร์เฟส (INTERPHASE) เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการแบ่งเซลล์ แบ่งเป็นขั้นตอนย่อยดังนี้
        1.1.ระยะก่อนสร้าง DNA(G1 หรือ FIRST GAP)
        1.2.ระยะสร้าง DNA (S หรือ SYNTHESIS) เป็นระยะที่เริ่มมีการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ โดยการจำลองตัวเอง
        1.3.ระยะสิ้นสุดการสร้าง DNA (G2 หรือ SECOND GAP)
2. ระยะแบ่งเซลล์(MITOSIS)
         2.1 ระยะโปรเฟส (PROPHASE) โครมาทินจะม้วนขดตัวจนปรากฏเป็นรูปร่างโคร
โมโซมชัดเจน
         2.2 ระยะเมตาเฟส (METAPHASE) เห็นโครโมโซมมีรูปร่างสั้น และหนาชัดเจนที่สุดและเคลื่อนที่ไปเรียงตัวกันตามแนวกึ่งกลางเซลล์
         2.3 ระยะแอนนาเฟส (ANAPHASE) โครมาโซมที่ติดกันเริ่มเคลื่อนที่แยกจากกันตรงบริเวณเซนโตรเมียร์
         2.4 ระยะเทโลเฟส (TELOPHASE) เกิดเยื่อหุ้มนิวเคลียสล้อมรอบโครโมโซม

                 ข้อควรจำ
       เซลล์ที่ไม่มีการแบ่งเซลล์ เพื่อสร้างขึ้นใหม่ จะพบว่าอยู่ในระยะอินเตอร์เฟสตลอดเวลา เช่น เซลล์ประสาท เซลล์หัวใจ และเซลล์กล้ามเนื้อเป็นต้น

                ตัวอย่างข้อสอบ
         เมื่อย้อมสีเซลล์ต่อไปนี้แล้วนำไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์เซลล์ชนิดใดบ้างที่อาจจะเห็นโครโมโซมได้
1.  BONE MARROW
2.  NEURON
3.  LYMPHOCYTE
4.  SPERMATOCYTE
ก.  1,4
ข.  2,3,4
ค.  1,3,4
ง.  1,2,3,4
ตอบ ข.

3. การแบ่งไซโตพลาสซึม (CYTOKINESIS)
-   เซลล์สัตว์การแบ่งไซโตพลาสซึมเกิดขึ้น โดยการที่เยื่อหุ้มเซลล์เริ่มคอดเว้าเข้าหากันจากด้านนอก
-   เซลล์พืช การแบ่งไซโดพลาสซึมจะเกิดขึ้นจากด้านในโดยจะมีการสร้างแผ่นกั้นเซลล์ (CELL PLATE) ขึ้นตรงแนวกึ่งกลาง

              ตัวอย่างข้อสอบ
         ข้อใดเป็นตัวอย่างของการแบ่งเซลล์แบบไมโตรซิส
1. การแบ่งเซลล์ของสเปอร์มาโตโกเนียม
2. การแบ่งเซลล์ของไพรมอร์เดียล เจิร์มเซลล์
3. การสร้างสเปริ์มของพืชไม่มีดอก
4. การสร้างละอองเรณูของพืชไม่มีดอก
ก. 1 และ 2
ข. 1,2 และ 3
ค. 2,3 และ 4
ง. 1,2,3 และ 4
ตอบ ก.



                   การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (MEIOSIS)     
          เซลล์จะผ่านระยะต่างๆ คือระยะ G1,S และ G2 เช่นเดียวกันกับแบบไมโตซิส แล้วจึงเข้าสู่ระยะของกระบวนการแบ่งนิวเคลียส ซึ่งแบ่งเป็นขั้นตอนใหญ่ๆ 2 ขั้นตอน คือ
1. ไมโอซิส I (MEOSIS I) เป็นกระบวนการแบ่งนิวเคลียสที่ทำให้จำนวนโครโมโซมลดลงจากเดิมครึ่งหนึ่ง แบ่งออกเป็นระยะต่างๆดังนี้
       1.1 ระยะโปรเฟส I มีการเข้าคู่ของโฮโมโลกัสโครโมโซม และเกิด CROSSING OVER ขึ้น
       1.2 ระยะเมตาเฟส I – โฮโมโลกัสโครโมโซมอยู่เคียงข้างกันและเรียงตัวอยู่ตรงกลางของเซลล์
       1.3 ระยะแอนาเฟส I – โครโมโซฒ แต่ละคู่ของไบวาเลนต์ถูกดึงแยกออกจากกัน
       1.4 ระยะเทโลเฟส I – มีการสร้างเยื่อหุ้มนิวเคลียสขึ้นมาหุ้มแต่ละกลุ่ม

2.ไมโอซิส II (MEIOSIS II) แบ่งเป็นระยะย่อยดังนี้
       2.1 ระยะโปรเฟส II
       2.2 ระยะเมตาเฟส II
       2.3 ระยะแอนาเฟส II
       2.4 ระยะเทโลเฟส II

                 ข้อสังเกต
      การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโตรซิสและไมโอซิส แตกต่างกันอย่างชัดเจนที่สุด คือในระยะโปรเฟสของไมโอซิส I มีการเข้าคู่ของโฮโมโลกัส โครโมโซม

                 ตัวอย่างข้อสอบ
         ถ้า ปริมาณ DNA ของเซลล์ที่มีสภาพดิพลอยด์ (DIPLOID) ในระยะ G1 มีค่าเท่ากับ X หน่วย เมื่อเกิดไมโอซิสจะมีปริมาณ DNA ในระยะ METAPHASE I และ METAPHASE II เป็นเท่าใด
ก. X,0.5x
ข. 2X,0.5x
ค. 2X,X
ง. 4X,2X
ตอบ ค.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น