วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

บทที่13 การตอบสนองของพืช

13. การตอบสนองของพืช


                                            การตอบสนองของพืชต่อสิ่งแวดล้อม
                     การเคลื่อนไหวของพืช
ก.  การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการเจริญเติบโต (GROWTH MOVEMENT)       
1. การเคลื่อนไหวอัตโนมัติ (AUTOMATIC MOVEMENT) มีออกซิเจนเป็นตัวกระตุ้น
- NUTATION การเคลื่อนไหวแบบสั่น เป็นการส่ายของพืชที่เกิดจากส่วนต่างๆของปลายยอดพืชเจริญเติบโตไม่เท่ากัน เช่น ต้นถั่ว
- CIRCUMNUTATION (SPIRALMOVEMENT) เป็นการเคลื่อนไหวแบบบิดเป็นเกลียว ขณะเจริญเติบโต เช่น เถาวัลย์

            ตัวอย่างข้อสอบ
      ข้อใดอธิบายความหมายของนิวเตชั่นได้ถูกต้อง
ก. การพันหลักของมือเกาะต้นตำลึง
ข. การบิดเป็นวงเหมือนยอดพืชตระกูลถั่ว
ค. การหุบบานของดอกบัวเมื่อได้รับแสง
ง.  การเคลื่อนที่ของพืชอันเนื่องจากแสงเป็นสิ่งเร้า
ตอบ ข.

2. การเคลื่อนที่เกิดจากสิ่งเร้าภายนอก (STIMULUS MOVEMENT)
เกิดจากการกระตุ้นของออกซินและสิ่งเร้าร่วมกัน
      2.1 NASTIC MOVEMENT (NASTY) เป็นการเคลื่อนไหวโดยไม่สัมพันธ์ กับทิศทางของสิ่งเร้า เช่น การหุบบานของดอกไม้ จากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ หรือแสงสว่าง
- การบานของดอกไม้เรียกว่า EPINASTY
- การหุบของดอกไม้เรียกว่า HYPONASTY

            ตัวอย่างข้อสอบ
      แสงทำให้พืชเคลื่อนไหวได้เนื่องจาก
ก. พืชจะขาดแสงไม่ได้
ข. พืชต้องการแสงเพื่อปรุงอาหาร
ค. มีการเจริญเติบโตต่างกันเกิดขึ้น
ง.  การแสดงอาการตอบสนองต่อแสง
ตอบ ค.
      2.2 TROPIC MOVEMENT (TROPISM) เป็นการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นจากสิ่งเร้า มีการสัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า
- รากเจริญเข้าหาแรงดึงดูดโลก เรียกว่า POSITIVE GEOTROPISM
- รากที่เจริญหนีแสงสว่าง เรียกว่า NEGATIVE PHOTOTROPISM

           ตัวอย่างข้อสอบ
      การเจริญของมือจับตำลึงเรียกว่าอะไร
ก. POSITIVE GEOTROPISM
ข. NEGATIVE PHOTOTROPISM
ค. POSITIVE THIGMOTROPISM
ง. NEGATIVE CHEMOTROPISM
ตอบ ค.

ข. การเคลื่อนไหวเนื่องจากความเต่ง (TURGOR MOVEMENT) เกิดจากการออสโทซิสของน้ำเข้าสู่เซลล์ทำให้เซลล์เต่งขึ้น
- พืชบางชนิดจะมีเซลล์ที่โคนก้านใบ มีขนาดใหญ่กว่าเซลล์อื่นๆเรียกว่า PULVINUS เซลล์นี้จะไวต่อการกระตุ้นมากมีทั้งไวต่อการกระตุ้น เช่น ไมยราบ หรือในพืชที่มีการหุบในในเวลากลางคืน เช่น มะขาม กระถิน
- พืชกินแมง เช่น หม้อข้าวหม้อแกงลิง ว่านกาบหอย จะมีเซลล์ที่ไวต่อการขังจับแมลง

            ข้อควรจำ
      การปิดเปิดของปากใบ เกิดจากการเต่งของเซลล์คุม (GUARD CELL)
เนื่องจากการออสโมซิส เข้า-ออกเซลล์ของน้ำ

            ตัวอย่างข้อสอบ
      การเคลื่อนไหวของพืชชนิดใดที่ต่างจากพวก
ก. การหุบของใบไมยราบเมื่อถูกเตะ
ข. การบานของดอกกระบองเพชร
ค. การงอกของละอองเรณู
ง.  การพันหลักของตำลึง
ตอบ ก.
                             การตอบสนองต่อสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
      ฮอร์โมนพืช (PLANT HORMONE) เป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
1. ออกซิล(AUXIN) เป็นฮอร์โมนที่พืชสร้างขึ้นจาบริเวณยอดอ่อนหรือรากอ่อน
- กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์โดยทั่วไป
- ยับยั้งการเจริญเติบโตของตาข้าง
- ทำให้เกิดการเจริญของรังไข่ เป็นผลโดยไม่ต้องปฏิสนธิ (PARTHENOCARPIC FRIIT)
- ชะลอการหลุดร่วงของใบ
- กระตุ้นการงอกของราก

            ข้อควรระวัง
      ออกซินในความเข้มข้นต่ำๆ จะกระตุ้นความเจริญของราก แต่ในความเข้มข้นสูงๆ จะเป็นการยับยั้ง

            ตัวอย่างข้อสอบ
      เมื่อเราตัดลายยอดของต้นไม้ออก จะพบว่าตาที่อยู่ด้านข้างจะแตกกิ่งมากมายจนเป็นพุ่มน่าจะเกี่ยวกับฮอร์โมนพืชชนิดใด
ก. ออกซิน
ข. เอธิลิน
ค. ไซโตไคนิน
ง.  จิเบอเรลลิน
ตอบ ก.

      ลำดับการตอบสนองต่อความเข้มข้นของออกซิน จากน้อยไปมาก
ก. ราก ตา ลำต้น
ข. ราก ลำต้น ตา
ค. ลำต้น ตา ราก
ง.  ลำต้น ราก ตา
ตอบ ก.

2. จิบเบอเรลลิน (GIBBERELLIN) สร้างจากต้นอ่อน มีบทบาทดังนี้
- กระตุ้นการยืดตัว และแบ่งเซลล์ของลำต้น
- กระตุ้นการงอกของเมล็ด
- กระตุ้นการออกดอกของพืชบางชนิด
- ช่วยในการยืดช่อองุ่นทำให้ผลมีขนาดโตขึ้น

            ตัวอย่างข้อสอบ
      ส่วนไหนของพืชที่ตอบสนองต่อออกซิน แต่ไม่ตอบสนองต่อจิบเบอเรลลิน
ก. ลำต้น
ข. ใบ
ค. ราก
ง. ดอก
ตอบ ค.

3. ไซโตไคนิน (CYTOKININ)สร้างจากราก มีบทบาทดังนี้
 กระตุ้นการแบ่งเซลล์ของพืช และช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในกระบวนการเจริญเติบโต
 ยืดอายุผักและผลไม้หลังการเก็บเกี่ยวให้สดอยู่ได้นาน
 เร่งการงอกของเมล็ด
 เร่งการเจริญของตารอบข้าง
           
           ตัวอย่างข้อสอบ
      ผักผลไม้จะสดอยู่ได้นานต้องใช้ฮอร์โมนอะไร
ก. ออกซิน
ข. จิบเบอเรลลิน
ค. ไซโตไคนิน
ง. กรดแอบไซซิก
ตอบ ค.

4. กรดแอบไซซิก (ABCISIC ACID) สร้างจากใบ และตา มีบทบาทดังนี้
 ยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช ทำให้แคระแกรน
 ทำให้เกิดการพักตัวของตาและเมล็ด
 กระตุ้นการหลุดร่วงของใบ และดอก
5. ก๊าซเอธิลิน (ETHYLENE) สร้างจากจากเนื้อเยื่อของพืชมีมากในผลไม้สุกมีบทบาทดังนี้
 เร่งการสุกของผลไม้
-  กระตุ้นการหลุดร่วงของใบ และผล
 กระตุ้นการออกดอกของพืชบางชนิด
 ช่วยในการงอกของเมล็ด

           ข้อควรจำ
1. ออกซิน (ในความเข้มข้นต่ำ) มักนิยมนำไปใช้กระตุ้นการงอกของราก
2. ไซโตไคนิน นำไปใช้กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
3. จิบเบอเรลลิน นิยมไปใช้ในการยืดช่อองุ่น ทำให้ผลองุ่นใหญ่ขึ้น

             ตัวอย่างข้อสอบ
      งานด้านเทคโนโลยีชีภาพที่น่าสนใจอย่างหนึ่งในปัจจุบันคือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในวุ้นอาหาร สารที่มักใช้เพื่อกระตุ้นให้มีการแบ่งเซลล์ เพิ่มจำนวนเป็นแคลลัส คือ สารอะไร
ก. ออกซิน
ข. ไซโตไคนิน
ค. เอทิลีน
ง. จิบเบอเรลลิน
ตอบ ข.

3 ความคิดเห็น: