วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

บทที่19 ระบบโครงร่างของร่างกาย

19. ระบบโครงร่างของร่างกาย


 ระบบโครงร่างของสิ่งมีชีวิต
1. พวกที่ไม่มีโครงร่างแข็ง เช่น โปรโตซัว ไส้เดือน แมงกะพรุน พลานาเรีย เป็นต้น
2. พวกที่มีโครงร่างแข็ง
        - โครงร่างแข็งภายนอก(ENDOSKELETION) เช่น แมลง และอาร์โทรปอดชนิดต่างๆ
        - โครงร่างแข็งภายใน(EXOSKELETON) เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด

                                                      โครงร่างแข็งของคน

             ระบบโครงกระดูก
ร่างกายของคนประกอบด้วยกระดูกทั้งสิ้น 206 ชิ้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
1. กระดูกแกน(AXIAL SKELETON) หมายถึงกระดูกที่อยู่บริเวณกลางลำตัว มีทั้งสิ้น 80 ชิ้นเช่น กระดูกกะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครงและกระดูกหน้าอกเป็นต้น
2. กระดูกระยางค์(APPENDICULAR SKELETON) เป็นกระดูกที่ยื่นห่างออกไปจากลำตัว มีทั้งสิ้น 126 ชิ้น ได้แก่กระดูกแขน กระดูกขาเป็นต้น

             ข้อต่อ(JOINT)
 1. ข้อต่อที่เคลื่อนไหวไม่ได้(IMMOVABLE JOINT) พบที่กะโหลกศีรษะ
 2. ข้อต่อที่เคลื่อนที่ไหวได้(MOVABLE JOINT)
      - ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้เล็กน้อย (GLIDING JOINT) เช่น ข้อมือข้อเท้า และสันหลังเป็นต้น
      - ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้มากแต่เป็นแบบบานพับ(HINGE JOINT) เช่น ข้อศอก หัวเข่าเป็นต้น
      - ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้รอบทิศ(BALL AND SOCKET JOINT) ได้แก่โคนขา ต้นแขน

              ข้อควรระวัง
      ลิกกาเมนต์(LIGAMENT) เป็นเอ็นที่ยึดกระดูกแต่ละท่อนติดกันอยู่
      เท็นดอน(TENDON) เป็นเอ็นที่ยึดกล้ามเนื้อให้ติดกับกระดูก

               ระบบกล้ามเนื้อ
       กล้ามเนื้อของคนแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
1. กล้ามเนื้อเรียบ (SMOOTH MUSCLE) เป็นกล้ามเนื้อที่พบอยู่ตามอวัยวะภายในเช่น ผนังกระเพาะอาหาร
2. กล้ามเนื้อลาย (STRIATED MUSCLE) พบทั่วไปตามอวัยวะต่างๆ
3. กล้ามเนื้อหัวใจ (CARDIAC MUSCLE) เป็นกล้ามเนื้อที่พบเฉพาะที่หัวใจเท่านั้น

                  การทำงานของกล้ามเนื้อลาย
       มัดกล้ามเนื้อแต่ละประกอบด้วยเส้นใยโปรตีน 2 ชนิด คือ
  แอกติน (ACTIN) เป็นเส้นใยโปรตีนที่มีขนาดเล็ก บางและมีสีจาง
  ไมโอซิน (MYOSIN) เป็นเส้นใยโปรตีนที่มีขนาดใหญ่ หนาและสีเข้มกว่า
โปรตีนทั้งสองชนิดนี้จะเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ สลับกันระหว่างแอกตินกับไมโอซิน
1. การหดตัวของกล้ามเนื้อเกิดจากการที่แอกตินเลื่อนเข้าหากัน ส่วนการคลายตัวของกล้ามเนื้อเกิดจากการเคลื่อนตัวออกจากกันของแอกติน
2. การทำงานของกล้ามเนื้อเป็นไปในลักษณะการทำงานแบบตรงข้าม(ANTAGONISM) กล้ามเนื้อที่หดตัวแล้วทำให้อวัยวะนั้นงอเรียกว่าเฟลกเซอร์เช่น กล้ามเนื้อ ไบเซฟที่ต้นแขน กล้ามเนื้อที่หดตัวแล้วทำให้อวัยวะนั้นเหยียดเรียกว่าเอกเทนเซอร์ เช่น กล้ามเนื้อ ไตรเซพ

                    การเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิต
1. การเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีโครงร่างแข็ง
       - การเคลื่อนไหวแบบอะมีบา (AMOEBOID MOVEMENT) โดยอาศัยการไหลของไซโตพลาซึมและยื่นส่วนของไซโตพลาซึมดันให้เยื่อหุ้มเซลล์ โป่งออกไปเป็นขาเทียม(PSEUDOPODIUM) พบในอะมีบา
       - การเคลื่อนไหวโดยใช้ FLAGELLUM และ CILIA
ภายในซิเลียและแฟลกเจลลัมจะประกอบด้วยหลอดเล็กๆเรียกว่า MICROTUBULE เรียงกันเป็นวง โดยรอบ 9 คู่ และอยู่ตรงกลางอีก 2 หลอดซีเลียพบใน พารามีเซียม ส่วนแฟลกเจลลัมพบในยูกลีนา
       - แมงกะพรุน เคลื่อนที่โดย การหดตัวของกล้ามเนื้อบริเวณขอบร่มทำให้น้ำพ่นออกมาทางปากเกิดแรงผลักให้ลำตัวพุ่งไปด้านตรงข้าม
       - หมึก จะมีท่อน้ำ(SIPHON) เพื่อพ่นน้ำทำให้สามารถเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้าม
       - ดาวทะเล จะมี ทิวฟีต(TUBE FEET) จำนวนมากใช้ในการเคลื่อนที่โดยการหดและยืดตัวสลับทำให้สามารถเคลื่อนที่ไปได้

              ข้อสังเกต
      แมงกะพรุน หมึกและดาวทะเล เป็นสัตว์ที่เคลื่อนที่โดยอาศัยแรงดันน้ำ
- ไส้เดือนดิน เคลื่อนไหวโดยกล้ามเนื้อที่ทำงานแบบตรงข้ามกัน(ANTAGONISM) 2 ชุดคือ กล้ามเนื้อวงกลม(CIRCULAR MUSCLE) กล้ามเนื้อตามยาว (LONGITUDINAL MUSCLE) และขนเล็กๆ (SETAE) ช่วยในการเคลื่อนที่
- พลานาเรียเคลื่อนไหวโดยกล้ามเนื้อที่ทำงานแบบแอนตาโกนิซึม 3 ชุด กล้ามเนื้อวงกลม กล้ามเนื้อตามยาว และกล้ามเนื้อบนล่าง (DORSO-VENTRAL MUSCLE) ทำให้ตัวแบบพริ้ว ด้านล่างของลำตัวพลานาเรียจะมีซีเรีย ช่วยโบกพัดเวลาว่ายน้ำ

                 ข้อสังเกต
      ไส้เดือนดินและพลานาเรียเคลื่อนที่โดยใช้กล้ามเนื้อที่ทำงานร่วมกันแบบแอนตาโกนิซึม โดยไส้เดือนดินใช้กล้ามเนื้อ 2 ชุด ส่วนพลานาเรียใช้ 3 ชุด
1. สัตว์ที่มีโครงร่างแข็งภายนอก
        - แมลง มีกล้ามเนื้อยึดระหว่างส่วนอกกับโคนปีก ซึ่งประกอบด้วยกล้ามเนื้อ 2 ชุดทำงานตรงกันข้ามกัน คือ กล้ามเนื้อยกปีกและกล้ามเนื้อกดปีก
2. การเคลื่อนไหวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
       การเคลื่อนไหวของสัตว์มีกระดูกสันหลังเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างระบบที่สำคัญ 2 ระบบ คือ
        - ระบบกล้ามเนื้อ
        - ระบบโครงกระดูก
        - ปลา เคลื่อนที่ขึ้นลงในแนวดิ่ง ครีบเดี่ยวเช่นครีบหางใช้ในการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า
        - โลมาและวาฬเคลื่อนที่ไปข้างหน้าโดยการตวัดหางและหัวขึ้นลงสลับกัน
        - แมวน้ำ ตะพาบน้ำ สิงโตทะเล และเต่าทะเล เคลื่อนที่โดยใช้ฟลิปเปอร์(FLIPPER) ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากรยางค์คู่หน้า
        - เป็ดและกบ เคลื่อนที่โดยการอาศัยพังผืดระหว่างนิ้วเท้า(WEB)
        - นกนอกจากโครงกระดูกและกล้ามเนื้อแล้วนกยังมีถุงลมแทรกอยู่ทำให้น้ำหนักตัวเบา และช่วยเก็บสำรองอากาศเพื่อใช้ในการหายใจเนื่องจากนกเคลื่อนที่โดยการบินซึ่งต้องใช้พลังงานมาก

                 ข้อสังเกต
      สัตว์ชนิดต่างๆ จะมีองค์ประกอบในการเคลื่อนไหวแตกต่างกัน และ ประสิทธิภาพก็อาจจะไม่เท่ากัน เช่นเสือชีต้าวิ่งได้เร็วมาก เพราะกระดูกสันหลังสามารถโค้งงอได้มาก ช่วยเพิ่มช่วงของการก้าวให้มากขึ้นทำให้เคลื่อนที่ได้เร็วยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น