วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

บทที่22 พฤติกรรม

22. พฤติกรรม

        พฤติกรรม (Behavior) หมายถึง กิริยาอาการแสดงออกทุกรูปแบบของสิ่งมีชีวิตเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า ทั้งภายนอกและใน เป็นการแสดงออกที่เห็นได้จากภายนอก โดยรูปแบบของพฤติกรรมต่างๆ นั้นเป็นผลมาจากการทำงานร่วนกันของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม

                                  กลไกการเกิดพฤติกรรม
การที่พฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งจะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องประกอบด้วย
1. สิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้น (STIMULUS)
2. เหตุจูงใจ (MOTIVATION) ซึ่ง หมายถึงความพร้อมภายในร่างกายของสัตว์ก่อนที่จะแสดงพฤติกรรม เช่น ความหิว ความกระหาย เป็นต้น
พฤติกรรมจะสลับซับซ้อนเพียงใดขึ้นอยู่กับระดับความเจริญของหน่วยต่างๆ ดังนี้
1. หน่อยรับความรู้สึก (RECEPTER)
2. ระบบประสาทส่วนกลาง (CENTRAL NERVOUS SYSTEM)
3. หน่วยปฏิบัติงาน (EFFECTOR)

                                       พฤติกรรมแบบต่างๆ ในคนและสัตว์
1. พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด (INNATE BEHAVIOR)
พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดเป็นพฤติกรรมแบบง่ายๆ มีรากฐานมาจากกรรมพันธุ์ (สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้เมื่อได้รับประสบการณ์เพิ่มเติมขึ้น) ไม่ต้องมีการเรียนรู้มาก่อน มีแบบแผนที่แน่นอนในสัตว์แต่ละสปีชีส์ สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้
2. พฤติกรรมการเรียนรู้ (LEARNING BEHAVIOR)
พฤติกรรมการเรียนรู้ เป็นพฤติกรรมที่จะต้องอาศัยประสบการณ์ ส่วนใหญ่พบพฤติกรรมแบบนี้ในสัตว์ชั้นสูงที่มีระบบประสาทเจริญดี
3. พฤติกรรมทางสังคม (SOCIAL BEHAVIOR)
พฤติกรรมทางสังคม หมายถึง พฤติกรรมที่สัตว์ใช้สื่อสารติดต่อระหว่างสปีชีส์เดียวกัน หรือต่างสปีชีส์ที่อยู่ร่วมกัน โดยอาจเป็นพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดหรือพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ก็ได้
             พฤติกรรมทางสังคมจำแนกตามวิธีการสื่อสารระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ได้ดังนี้
1. การสื่อสารด้วยท่าทาง (VISUAL SIGNAL)
2. การสื่อสารด้วยเสียง (SOUND SIGNAL)
3. การสื่อสารด้วยสัมผัส (PHYSICAL SIGNAL)
4. การสื่อสารด้วยสารเคมี (CHEMICAL SIGNAL)

                                                  ฟีโรโมน (PHEROMONE)
         หมายถึง สารเคมีที่สัตว์สร้างขึ้น เมื่อหลั่งออกมาภายนอกร่างกายแล้วจะไปมีผลต่อสัตว์ตัวอื่นซึ่เป็นชนิดเดียวกัน ทำให้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม และสรีระเฉพาะอย่างได้
การรับฟีโรโมนมีได้ 3 ทาง คือ
1.ทางกลิ่น
- สารที่ชะมดสร้างขึ้นบริเวณใกล้อวัยวะสืบพันธุ์
- สารที่ผีเสื้อสร้างขึ้นเพื่อล่อให้ตัวผู้มาสืบพันธุ์
2.ทางการกิน
- สารที่สร้างจากต่อมบริเวณรยางค์ปากกาของราชินีผึ้งงานกิน
3.โดยการดูดซึม
- แมลงสาบ แมงมุม ตัวเมียสร้างขึ้นเมื่อตัวผู้มาสัมผัสจะตามไปจนพบและผสมพันธุ์กัน
- ตั๊กแตนตัวผู้ ปล่อยสารทิ้งไว้หลังการผสมพันธุ์ เมื่อตัวอ่อนมาสัมผัสเข้าจะกระตุ้นให้เจริญเป็นตัวเต็มวัย

บทที่21 ฮอร์โมน

 
21. ฮอร์โมน
          ฮอร์โมน คือ สารเคมีที่สร้างมาจากต่อมไร้ท่อ( endocrine gland ) หรือเนื้อเยื่อ (endocrine tissue) แล้วเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด ลำเลียงไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะเป้าหมาย ( target organ ) ฮอร์โมนส่วนใหญ่เป็นสารประเภทโปรตีน อามีนและสเตียรอยด์
       
        ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง
        ต่อมใต้สมอง( pituitary gland) อยู่ตรงส่วนล่างของสมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
-  ต่อมใต้สมองส่วนหน้า( anterior lobe of pituitary gland )
 ต่อมใต้สมองส่วนกลาง ( intermediated lobe of pituitary )
 ต่อมใต้สมองจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง( posterior lobe of pituitary gland )
      
                    ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ( anterior lobe of pituitary gland )
        เป็นส่วนที่ไม่ได้เกิดจากเนื้อเยื่อประสาท การทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของ hypothalamus สร้างฮอร์โมนประเภทสารโปรตีนหรือพอลิเพปไทด์ ได้แก่
       1. Growth hormone(GH) หรือ Somatotrophic hormone(STH) ฮอร์โมนนี้หลั่งตอนหลับมากกกว่าตอนตื่นและตอนหิวมากกว่าช่วงปกติ   เป็นฮอร์โมนที่ประกอบด้วย polypeptide ที่มีกรดอมิโน 191 ตัว มีธาตุกำมะถันอยู่ในรูป disulphid  กระตุ้นให้เกิดการเจริญของกล้ามเนื้อและกระดูกโดยอาศัย thyroxin และ inrulin เป็นตัวคะตะลิสต์  มีอิทธิพลกระตุ้นการเจริญและเพิ่มความยาวของกระดูกกระตุ้นการเจริญของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆของร่างกาย  ความผิดปกติเมื่อร่างกายขาดหรือมีมากเกินไป
  ถ้าร่างกายขาด GH ในเด็ก ทำให้ร่างกายเตี้ยแคระ (สติปัญญาปกติ) เรียก Dawrfism ในผู้ใหญ่ มีอาการผอมแห้ง น้ำตาลในเลือดต่ำ มีภาวะทนต่อความเครียด(stess) สูงเรียกว่า Simmom’s disease
  ถ้าร่างกายมี GH มากเกินไป ในวัยเด็ก จะทำให้ร่างกายเติบโตสูงใหญ่ผิดปกติ น้ำตาลในเลือดสูง ทนต่อความเครียดได้น้อย เรียกว่า Gigantism ในผู้ใหญ่ กระดูกขากรรไกร คางจะยาวผิดปกติ ฝ่ามือ ฝ่าเท้าโต จมูกใหญ่ ฟันใหญ่ และห่างเรียก Acromegaly
       2. Gonadotrophin หรือ Gonadotrophic hormone ประกอบด้วยฮอร์โมนที่สำคัญ 2 ชนิด คือ
   2.1  Follicle stimulating hormone (FSH) ทำหน้าที่กระตุ้นฟอลลิเคิลให้สร้างไข่และไข่สุก มีการสร้างฮอร์โมน estrogen ออกมา และกระตุ้น seminiferrous tubule ให้สร้างอสุจิ
   2.2  Luteinizing hormone (LH) ทำหน้าที่กระตุ้นให้ไข่ตกจากฟอลลิเคิล สำหรับในเพศชาย กระตุ้นให้ interstitial cells ในอัณฑะสร้างฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งอาจเรียกว่า Interstitial Cell Stimulating Hormone (ICSH)
       3. Prolactin หรือ Lactogenic hormone (LTH) ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญของต่อมน้ำนมในเพศหญิง นอกจากนี้ทำหน้าที่ร่วมกับ androgen ในเพศชายกระตุ้นต่อมลูกหมาก การบีบตัวของท่อนำอสุจิ การสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
       4. Andrenocorticotrophin หรือ Adrenocorticotrophic hormone (ACTH)
มีหน้าที่กระตุ้นทั้งการเจริญเติบโตและการสร้างฮอร์โมนของต่อมหมวกไตส่วนนอกให้สร้างฮอร์โมนของต่อมหมวกไตส่วนนอก ให้สร้างฮอร์โมนตามปกติและกระตุ้น การหลั่ง insulin การหลั่ง GH ควบคุมการทำงานของต่อมเหนือไตชั้นนอก ( adrenal cortex ) ทำให้สีของสัตว์เลือดเย็นเข้มขึ้น มีโครงสร้างเหมือน MSH
       5. Thyroid Stimulation hormone (TSH) ทำหน้าที่กระตุ้นให้มีการเพิ่มการนำไอโอดีนเข้าต่อมไทรอยด์ เพื่อเพิ่มการสังเคราะห์ thyroxine hormone
การหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะถูกควบคุมโดยฮอร์โมนที่สร้างจาก สมองส่วน hypothalamus มีฮอร์โมนที่กระตุ้นและยับยั้งการผลิตฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหน้าและมี ชื่อเรียกตามผลที่แสดงออกต่อการสร้างฮอร์โมน เช่น
 ฮอร์โมนกระตุ้นการหลั่ง GH ( GH releasing hormone, GRH) กระการหลั่งฮอร์โมน growth
 ฮอร์โมนยับยั้งการหลั่ง GH (GH inhibiting hormone,GIH) ยับยั้งไม่ให้มีการหลั่งฮอร์โมน growth
 ฮอร์โมนกระตุ้นการหลั่ง prolactic (Prolactin releasing hormone,PRH) กระตุ้นให้ Prolactin หลั่งออกมา
 ฮอร์โมนควบคุมการหลั่ง thyroid (Thyroid releasing hormone,TRH) กระตุ้นการหลั่ง TSH
 ฮอร์โมนกระตุ้นการหลั่ง Gn (Gonadotrophin releasing hormone,GnRH) กระตุ้นให้มีการหลั่ง LH และ FSH
       ฮอร์โมนเหล่านี้รวมเรียกว่า ฮอร์โมนประสาท เพราะสร้างมาจากเซลล์พิเศษ ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากเซลล์ประสาทภายใน hyprothalamus
                     
                            ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนกลาง (Intermediate lobe)
      มีขนาดเล็กมากทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน Melanocyte Stimulating Hormone(MSH) ทำหน้าที่ปรับสีของสัตว์เลือดเย็นให้เข้มขึ้น(ทำหน้าที่ตรงข้ามกับ Malatonin จากต่อม pineal ) ในสัตว์เลือดอุ่นมีหน้าที่ไม่แน่ชัด
ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง (Posterior lobe) เป็นกลุ่มเซลล์ของเนื้อเยื่อประสาทจาก hypothalamus ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนภายนอก แล้วลำเลียงมาไว้ที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง ได้แก่
   1. Oxytocin ทำให้กล้ามเนื้อมดลูก เต้านม กระเพาะปัสสาวะมีการหดตัว ฮอร์โมนนี้จะมีการหลั่งออกมาตอนคลอดลูกและในขณะร่วมเพศ แต่ถ้าหลั่งออกมามากก่อนคลอดจะทำให้แท้งลูกได้
   2. Vasopressin หรือ Antidiuretic hormone ( ADH ) ทำให้เส้นเลือดมีการหดตัวช่วยให้ท่อหน่วยไตดูดน้ำกลับคืน ทำให้ลดการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ที่จำเป็น ถ้าร่างกายขาดจะปัสสาวะมากทำให้เกิดโรคเบาจืด( diabetes inspidus)
                             
                                     ฮอร์โมนจากไอส์เลตออฟแลเกอร์ฮานส์

       Paul langerhan(1868) แห่งมหาวิทยาลัยไพรเบิร์กในเยอรมัน ได้ศึกษาตับอ่อนและพบกลุ่มเซลล์ตับอ่อนกระจายอยู่เป็นย่อมๆมีหลอดเลือดมา หล่อเลี้ยงมาก แ ละเรียกกลุ่มเซลล์เหล่านี้ตามชื่อของผู้คนพบว่า islets of Langerhans ฮอร์โมนที่สำคัญมี 2 ชนิดคือ
   1. Insulin สร้างมาจากกลุ่ม ? – cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก หน้าที่ของ insulin คือรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ ถ้ามีน้ำตาลในเลือดสูง insulin จะช่วยเร่งการนำกลูโคสเข้าเซลล์และเร่งการสร้าง glycogen เพื่อเก็บสะสมไว้ที่นับและกล้ามเนื้อ และเร่งการใช้กลูโคสของเซลล์ทั่วไป ทำให้น้ำตาลในเลือดน้อยลง
       ในคนปกติจะมีน้ำตาลในเลือด 100 mg ต่อเลือด 100 Cm3 กรณีคนที่ขาด insulin ทำให้เป็นโรคเบาหวาน ( diabetes mellitus ) คือ มีน้ำตาลในเลือดสูงมากและหลอดไตดูดกลับไม่หมด จึงมีส่วนหนึ่งออกมากับปัสสาวะ เมื่อเป็นมากๆ ร่างกายจะผอม น้ำหนักตัวลดลงมากเนื่องจากมีการสลายไขมันและโปรตีน มาใช้แทนคาร์โบไฮเดรตซึ่งร่างกายใช้ไม่ได้ ผู้ป่วยจะถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้ง และมีน้ำตาลออกมาด้วย ปัสสาวะมีความเป็นกรดมาก เนื่องจากมีคีโตนบอดี (Ketone Body) ซึ่งเป็นผลจากการสลายไขมัน นอกจากนี้ถ้าหากเป็นแผลจะหายยากมากเพราะในเลือดมีน้ำตาลสูง จุลินทรีย์ต่างๆจึงใช้เป็นอาหารได้เป็นอย่างดี เมื่อเป็นนานเข้าผู้ป่วยจะตาย เนื่องจากไตหมดประสิทธิภาพในการทำงาน
   2. Glucagon สร้างมาจาก ? – cell เป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่และมีน้อยกว่า ? – cell glucagon มีหน้าที่เพิ่มน้ำตาลในเลือดโดยเร่งสลายไกลโคเจนในตับให้เป็นกลูโคส ( ทำหน้าที่ตรงข้ามกับ insulin ) และเร่งการสร้างกลูโคสจากโปรตีนด้วย ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดจะเป็นสัญญาณให้ฮอร์โมนทั้งสองชนิด นี้ทำงานเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในภาวะปกติเสมอ
                                 
                                              ฮอร์โมนจากต่อหมวกไต
        ต่อมหมวกไต(adrenal gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่เหนือไตทั้งสองข้าง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ต่อมหมวกไตแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
   1. adrenal cortex หรือต่อมหมวกไตชั้นนอก ผลิตฮอร์โมนได้มากกว่า 50 ชนิด ภายใต้การควบคุมของ ACTH จากต่อมใต้สมองตอนหน้า ฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นมีสมบัติเป็นสเตอรอยด์ (steroid) แบ่งฮอร์โมนเป็น 3 กลุ่มที่สำคัญ คือ
     1.1  Glucocorticoid hormone ทำหน้าที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต โดยเปลี่ยน glycogen ในตับและกล้ามเนื้อให้เป็นกลูโคส ( ทำหน้าที่เหมือนกลูคากอนจากตับอ่อน)ในวงการแพทย์ใช้เป็นยาลดการอักเสบและ รักษาโรคภูมิแพ้ ฮอร์โมนกลุ่มนี้คือ cortisol และ cortisone ( ในภาวะตึงเครียดถ้ามีการหลั่ง cortisol มากทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารได้)
ถ้ามีฮอร์โมนกลุ่มนี้มากเกินไปจำทำให้อ้วน อ่อนแอ ( ไขมัน พอกตามตัว ) หน้ากลมคล้ายดวงจันทร์ หน้าท้องลาย น้ำตาลในเลือดสูงเช่นเดียวกับคนเป็นโรคเบาหวาน เรียกว่า โรคคูชชิง( Cushing’s syndrome)
     1.2  Mineralocorticoid hormone ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ ฮอร์โมนสำคัญกลุ่มนี้คือ aldosterone ช่วยในการทำงานของไตในการดูดกลับ Na และ Cl ภายในท่อตับ
ถ้าขาด aldosterone จะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและโซเดียมไปพร้อมกับปัสสาวะ ส่งผลให้เลือดในร่างกายลดลงจนอาจทำให้ผู้ป่วยตายเพราะความดันเลือดต่ำ
     1.3  Adrenal sex hormone ฮอร์โมนเพศช่วยกระตุ้นให้มีลักษณะทางเพศที่สมบูรณ์ทั้งชายและหญิง (secondeary sexual characteristics) ในเด็กผู้หญิงพบว่า ถ้ามีฮอร์โมนเพศมากเกินไปจะมี่ขนาด clitoris โต และมีอวัยวะที่ labium คล้ายๆถุงอัณฑะถ้าเป็นผู้หญิงที่โตเป็นสาวแล้วจะมีผลทำให้เสียงต่ำและมีหนวด เกิดขึ้น ประจำเดือนหยุดเรียกลักษณะนี้ว่า Adrenogentital sysdrome
ถ้า adrenal cortex ถูกทำลายจะไม่สามารถสร้างฮอร์โมนทำให้เป็นโรค Addison’s disease ผู้ที่เป็นโรคนี้ร่างกายจะซูบผอม ผิวหนังตกกระ ร่างกายไม่สามารถรักษาสมดุลของแร่ธาตุได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
   2.  Adrenal medulla เป็นเนื้อชั้นในของต่อมหมวกไต อยู่ภายใต้การควบคุมของ sympathetic ( ไม่มี parasympathetic ) ถูกกระตุ้นในขณะตกใจ เครียด กลัว โกรธ เนื้อเยื่อชั้นนี้จะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด
     2.1  Adrenalin hormone หรือ Epinephrine hormone
กระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรง ( ความดันเลือดสูง ) เส้นเลือดขยายตัวเปลี่ยน glycogen ในตับให้เป็นกลูโคสในเลือด ทำให้มีพลังงานมากในขณะหลั่งออกมา (adrenalin ใช้ในการห้ามเลือดได้เพราะทำให้เลือดเป็นลิ่ม ๆ)
     2.2  Noradrenalin hormone หรือ Norepinephrine hormone
กระตุ้นให้เส้นเลือดมีการบีบตัว ( ความดันเลือดสูง ) ผลอื่นๆคล้าย adrenalin แต่มีฤทธิ์น้อยกว่า
                  
                                                 ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์
        ต่อมไทรอยด์(Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ มี 2 lobe อยู่บริเวณลำคอ หน้าหลอดลมใต้กล่องเสียงเล็กน้อย ต่อมนี้สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด คือ
   1. Thyroxin เป็นสารอนุพันธ์ของกรดอมิโน ช่วยเร่งอัตราเมแทบอลิซึมของร่างกาย ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ช่วยให้เกิด metamorphosis เร็วขึ้น ฮอร์โมนนี้จำเป็นต่อการเจริญและการพัฒนาการของร่างกายโดยเฉพาะสมอง
ถ้าขาดฮอร์โมนไทรอกซิน ในเด็กจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง สติปัญญาไม่ดี อวัยวะเพศไม่เจริญ ร่างกายเตี้ยแคระ เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า Cretinism
ส่วนในผู้ใหญ่จะมีอาการเหนื่อยง่าย ซึม อ้วนง่าย ผมและผิวหนังแห้ง ความจำเสื่อม กล้ามเนื้ออ่อนแรง เฉื่อยชา เรียกกลุ่ม อาการนี้ว่า Myxedema
นอกจากนี้การขาดธาตุไอโอดีน ยังมีผลทำให้ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนไทรอกซินได้ ส่งผลให้เป็น โรคคอพอก ( Simple goiter หรือ endemic goiter) เพราะเมื่อร่างกายขาดไทรอกซิน จะมีผลให้ Hypotalamus หลั่งสารเคมีมากระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่งฮอร์โมน TSH ส่งมาที่ต่อมไทรอยด์มากกว่าปกติ เมื่อต่อมถูกกระตุ้นจึงมีขนาดขยายโตขึ้น
การสร้างฮอร์โมนนี้มากเกินไปจะทำให้เกิดโรค Grave’s disease ในเด็กจะมีอาการตัวสั่น ตกใจง่าย แต่คอไม่พอก ส่วนในผู้ใหญ่จะเกิดอาการคอพอกเป็นพิษ (toxin goiter หรือ exophthalmic goiter ) ต่อมมีขนาดใหญ่ มีฮอร์โมนมาก อัตราเมแทบอลิซึมจะสูง นานไปจะมีการสะสมสารเคมีบางชนิดในเบ้าตาทำให้ตาโปน
   2. Calcitonin เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ลดระดับของแคลเซียมในเลือดที่สูงเกินปกติ ให้เข้าสู่ระดับปกติ โดยดึงส่วนที่เกินนั้นไปไว้ที่กระดูก ดังนั้นระดับแคลเซียมในเลือดจึงเป็นตัวควบคุมการหลั่งฮอร์โมน ฮอร์โมนนี้จะทำงานร่วมกับต่อมพาราไทรอยด์และวิตามิน
                 
                                           ฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์
         ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid gland) มีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว มีอยู่ด้วยกัน 4 ต่อม ฝังอยู่ด้านหลังของต่อมไทรอยด์ข้างละ 2 ต่อม ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมนี้คือ parathormone
         Parathormone เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดและเนื้อเยื่อให้ปกติ ช่วยให้ไตและลำไส้เล็กดูดแคลเซียมกลับคืนได้มากขึ้น โดยทำงานร่วมกับวิตามิน ซี และ ดี ทำหน้าที่ควบคุมแคลเซียม กับ Calcitonin
        ถ้าขาดฮอร์โมนชนิดนี้ จะทำให้การดูดแคลเซียมกลับที่ท่องของหน่วยไตลดน้อยลง แต่จะมีฟอสฟอรัสมากขึ้น มีผลทำให้เกิดตะคริวชักกระตุก กล้ามเนื้อเกร็งเรียกการเกิด tetany แก้โดยลดอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงๆ และเพิ่มแคลเซียมหรือฉีดวิตามิน D
         แต่ในกรณีที่มีมากเกินไปจะทำให้กระดูกและฟันไม่แข็งแรงประสาทตอบสนองได้น้อย กล้ามเนื้อเปลี้ย ปวดกระดูก
                   
                                          ฮอร์โมนจากอวัยวะสืบพันธุ์
          ต่อมเพศ (gonad gland) หมายถึง อวัยวะสืบพันธุ์คืออัณฑะ หรือ รังไข่
   1. อัณฑะ (testis) ภายในอัณฑะมีกลุ่มเซลล์ interstitial cell เป็นแหล่งที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศชายฮอร์โมนที่ถูกสร้างเป็นสารส เตียรอยด์ ที่เรียกว่า androgens ประกอบด้วยฮอร์โมนหลายชนิด ที่สำคัญคือ testosterone ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะของเพศชาย เช่น เสียงแตก นมขึ้นพาน มีหนวดบริเวณที่ริมฝีปาก กระดูกหัวไหล่กว้าง
   2. รังไข่( ovary ) เป็นแหล่งสร้างฮอร์โมนเพศหญิง ต่อมเพศอยู่ในรังไข่ทั้ง 2 ข้าง มีแหล่งสร้างฮอร์โมน 2 แหล่ง คือ follicle ในรังไข่ และ corpus luteum ฮอร์โมนที่สร้างได้มี 2 ชนิด คือ
     1.1  Estrogen เป็นฮอร์โมนที่สร้างจาก follicle ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะเพศหญิง การมีประจำเดือน เตรียมการตั้งครรภ์ ห้ามการสร้างไข่ โดยห้าม FSH จากต่อมใต้สมองและกระตุ้นให้มีการหลั่ง LH แทน
     1.2  Progesterone สร้างจาก corpus luteum มีหน้าที่ในการกระตุ้นให้ผนังมดลูกหนา ห้ามการมีประจำเดือน ห้ามการตกไข่ ให้ต่อมน้ำนมเจริญมากขึ้น ป้องกันการแท้งบุตร อยู่ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมน FSH และ LH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า
ระบบฮอร์โมนขณะมีการเปลี่ยนแปลงรอบเดือน ในขณะมีรอบเดือน (memstrucation) Estrogen และ LH ต่ำ progresterone ต่ำมาก ภายหลังการตกไข่ (ovulation ) progesterone จะสูงขึ้นและจะสูงสุดภายหลังตกไข่ผ่านไป 1 สัปดาห์ จากนั้นจะลดลงเรื่อยๆถ้าไข่ไม่ถูกปฏิสนธิ
                          
                                                   ฮอร์โมนจากต่อไพเนียล
         ต่อมไพเนียล (pineal gland) เป็นต่อมเล็กๆ ที่อยู่ระหว่างสมองส่วน cerebrum พูซ้ายและพูขวา ต่อมไพเนียลจะสร้างฮอร์โมน melatonin
         Melatonin เป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญในคนและสัตว์ชั้นสูงในช่วงก่อนวัยหนุ่มสาว โดยจะไปยับยั้งการเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์
         ถ้าต่อมนี้เกิดผิดปกติและผลิตฮอร์โมนนี้มากเกินไปจะทำให้เป็นหนุ่มสาวช้าลงกว่าปกติ
ในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำบางชนิด เช่น ปลาปากกลมต่อมไพเนียลจะไม่ได้ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน แต่จะทำหน้าที่เป็นกลุ่มเซลล์รับแสง (photoreceptor)
         การหลั่งฮอร์โมนของต่อมนี้ จะหลั่งได้ดีในกรณีอยู่ในที่มืดในสัตว์พวกที่อยู่ในที่มีแสงสว่างมากจะหลั่งน้อย พวกสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และสัตว์เลื้อยคลานบางชนิด ซึ่งเป็นสัตว์เลือดเย็น ฮอร์โมนนี้จะไปช่วยในการปรับสีของผิวหนังให้จางลง (ทำหน้าที่ตรงกันข้ามกับ MSH จากต่อมใต้สมองส่วนกลาง)
                         
 ฮอร์โมนจากต่อมไทมัสและเนื่อเยื่ออื่นในร่างกาย
         ต่อมไทมัส(Thymus glad) มีลักษณะเป็น 2 พู อยู่ตรงทรวงอก รอบเส้นเลือดใหญ่ของหัวใจเป็นเนื้อเยื่อน้ำเหลือง ทำหน้าที่สร้างลิมโฟไซต์(T-Lymphotyce) หรือ T-Cell
         การที่เนื้อเยื่อน้ำเหลืองสร้างเซลล์ได้ต้องมีฮอร์โมนThymosinที่สร้างจากเนื้อเยื่อบางส่วนของต่อมไทมัส ต่อมนี้เจริญเต็มที่ตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์แม่ และจะเสื่อมสภาพเรื่อยๆเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น
         นอกจากนี้ ฮอร์โมนบางชนิดยังสามารถสร้างจากเนื้อเยื่อในร่างกายได้เนื้อเยื่อสำคัญคือ เนื้อเยื่อชั้นในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก ฮอร์โมนที่สร้างจากเนื้อเยื่อนี้เป็นสารประเภทโปรตีน มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร ได้แก่
   1. Gastrinเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากเนื้อเยื่อชั้นในของกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่กระตุ้น ทำหน้าที่กระตุ้นหลั่งน้ำย่อยจากตับอ่อน การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก
   2. Sacretin เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากเนื้อเยื่อชั้นในบริเวณดูโอดินัม ของลำไส้เล็ก ทำหน้าที่กระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยในตับอ่อน และกระตุ้นตับให้หลั่งน้ำดี เมื่ออาหารผ่านจากกระเพาะเข้าสู่ลำไส้เล็ก
                      
การควบคุมการทำงานของฮอร์โมนนี้
   1. ควบคุมโดยระบบประสาทโดยตรง เช่น การทำงานของต่อมใต้สมองส่วนหลัง และอะครีนัลเมดัลลา
   2. ควบคุมระบบประสาทโดยอ้อม เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมอะดรีนัลอร์เทกซ์ รังไข่ อัณฑะ ต่อมไร้ท่อเหล่านี้ถูกควบคุม โดยต่อมใต้สมองส่วนหน้า แต่ต่อมใต้สมองส่วนหน้าถูกควบคุมโดยฮอร์โมนส่วนประสาทจากสมองส่วนไฮโปทาลามัส
   3. ควบคุมโดยฮอร์โมน โดยต่อมไร้ท่อจะสร้างฮอร์โมนมาควบคุมซึ่งกันและกัน ซึ่งมีทั้งกระตุ้น และยับยั้ง เช่นต่อมใต้สมองส่วนหน้าสร้างฮอร์โมนมาควบคุม และกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ สร้างฮอร์โมนไทรอกซินเพิ่มขึ้น เมื่อฮอร์โมนนี้มีมากเกินไปก็จะยับยั้งฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมองส่วน หน้าอีกทีหนึ่ง การควบคุมแบบนี้เรียกว่า การควบคุมแบบย้อนกลับ (Negative feed back)
   4. การควบคุมโดยผลของฮอร์โมน เช่น การหลั่ง Paratormone ถูกควบคุมโดยระดับแคลเซียม ในพลาสมา ถ้าระดับแคลเซียมในพลาสมาต่ำจะมีผลไปกระตุ้นต่อต่อมพาราไทรอยด์ ให้หลั่งParatormone ออกมามาก แต่เมื่อระดับแคลเซียมสูง จะเป็นการยับยั้งฮอร์โมนนี้
                              
ฟีโรโมน (Pheromone)
        Pheromone หมายถึง สารเคมีที่สัตว์ขับออกมานอกร่างกาย โดยต่อมมีท่อ (exocrine gland) ซึ่งไม่มีผลต่อตัวเอง แต่จะไปมีผล ต่อสัตว์ตัวอื่นที่เป็นชนิดหรือสปีชีส์เดียวกัน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม และสรีรวิทยาเฉพาะอย่างได้ฟีโรโมน จัดเป็นสารเคมีที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสารสัญญาณดังนี้
   1. สารดึงดูดเพศตรงข้าม (Sex Attractant)
   2. สารเตือนภัย (Alarm Pheromone)
   3. สารส่งเสริมการรวมกลุ่ม (Aggregation – Promoting Subtances)ยกว้นสารสารที่มีกลิ่นเหม็นๆของแมลงที่ผลิตออกมาเพื่อป้องกันศัตรู เรียกว่าAllomones
                              
  ฮอร์โมนจากแมลง
ฮอร์โมนจากแมลงมี 3 กลุ่ม คือ
       1. ฮอร์โมนจากสมอง (brain hormone หรือ BH) เป็นกลุ่มฮอร์โมนซึ่งสร้างจาก neurosecretory cell ในสมอง กระตุ้นต่อมไร้ท่อบริเวณทรวงอก ทำให้สร้างฮอร์โมน molting hormone (MH) ไปเก็บไว้ใน corpus cardiacum ต่อไป
       2. ฮอร์โมนเกี่ยวกับการลอกคราบ (molting hormone หรือ MH) สร้างบริเวณทรวงอกมีผลทำให้แมลงลอกคาบ และ metamorphosis เป็นตัวโตเต็มวัย
       3. ฮอร์โมนยูวีไนล์(Juvenile hormone หรือ JH) สร้าง จากต่อมทางสมองมาทางซ้ายเรียก corpus allatum ทำหน้าที่ห้ามระยะตัวหนอนและดักแด้ไม่ให้ไม่ให้เป็นตัวเต็มวัย แต่ถ้ามี JH ลดลง จะกระตุ้นให้ลอกคราบแล้วกลายเป็นตัวเต็มวัยได้
                          
  ฮอร์โมนพืช (plant hormone)
           ฮอร์โมนพืช เป็นสารเคมีที่พืชสร้างขึ้นมาเพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของพืช และใช้เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชด้วย
          สารที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืชนี้เรียกว่า ฮอร์โมนพืช มี 5 ประเภทคือ
       1. ออกซิน(Auxin) หรือ กรดอินโดลแอซีติก(indoleacetic acid) เรียกย่อว่า IAA เป็นฮอร์โมนที่พืชสร้างจากกลุ่มเซลล์เนื้อเยื่อเจริญบริเวณยอดอ่อนและรากอ่อนแล้วแพร่ไปยังเซลล์อื่น คุณสมบัติของออกซิน มีดังนี้
 แพร่จากยอดลงสู่ต้น
 หนีแสงไปยังด้านที่มืดกว่า
 ช่วยให้เจริญเติบโต แต่ยับยั้งการแตกของตาด้านข้าง
 กระตุ้นการออกดอก และการกระตุ้นให้ ovary >>> fruit ( ไม่มีเมล็ด ) โดยไม่ต้องผสมพันธุ์
 กระตุ้นการแตกราของกิ่งในการเพราะชำ
 ชะลอการหลุดร่วงของใบ ดอก ผล
 กระตุ้นให้ยอดเจริญเติบโตรวดเร็ว แต่ในรากยับยั้งให้ช้าลง
       2. จิบเบอเรลลิน ( gibberellin) หรือ กรด gibberellic acid เรียกว่า GA เป็นฮอร์โมนพืชพวกหนึ่งในพืชชั้นสูง สร้างมาจากใบอ่อนและผลที่ยังไม่แก่ มีหลายชนิด มีคุณสมบัติดังนี้
 กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ระหว่างข้อปล้อง ทำให้ต้นไม้สูง
 กระตุ้นการงอกของเมล็ดและตา เพิ่มการเกิดดอก
 เปลี่ยนดอกตัวผู้ให้เป็นดอกตัวเมียในพืชตระกูลแตง
 ช่วยยืดช่อของผล
       3. เอทิลีน (ethylene) เป็นฮอร์โมนพืช ซึ่งผลิตขึ้นมาขณะที่เซลล์กำลังมีเมแทบอลิซึม ตามปกติเอทิลีนทำหน้าที่กระตุ้นการหายใจ และยังทำหน้าที่อื่นๆดังนี้
 เร่งเมแทบอลิซึม ทำให้ผลไม้สุก
 กระตุ้นการออกดอกของพืชพวกสับประรด
 กระตุ้นการหลุดร่วงของใบ
 เร่งการงอกของเมล็ด
 เร่งการไหลของน้ำยางพารา
       4. กรดแอบไซซิก(abscisic acid) เรียกย่อว่า ABA เป็นฮอร์โมนพืชที่กระตุ้นในการร่วงของใบโดยตรง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่
 กระตุ้นการหลุดร่วงของใบและผลที่แก่เต็มที่
 ยับยั้งการเจริญของเซลล์บริเวณตา
 กระตุ้นให้ปากใบปิดเมื่อขาดน้ำ
 ยืดระยะพักตัวของต้นอ่อนในเมล็ด
       5.ไซโทไคนิน (cytokinin) เป็นฮอร์โมนพืชที่พบในน้ำมะพร้าวและสารที่สกัดได้จากยีสต์มีสมบัติกระตุ้นการเจริญและการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ คุณสมบัติอื่นๆมีดังนี้
 กระตุ้นการแบ่งเซลล์และการเจริญเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ใช้ผสมในอาหารเพราะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชให้เกิดหน่อใหม่
 กระตุ้นการเจริญของกิ่งแขนง
 ชะลอการแก่ของผลไม้

บทที่20 ระบบประสาทและอวัยวะรับสัมผัส

20. ระบบประสาทและอวัยวะรับสัมผัส


                ระบบประสานงาน(CO-ORDINATING SYSTEM) ประกอบด้วย 2 ระบบย่อยคือ
1.ระบบประสาท(NERVOUS SYSTEM)
2.ระบบฮอร์โมน หรือ ระบบต่อมไร้ท่อ (ENDOCRINE GLAND SYSTEM)

                                           การรับรู้และการตอบสนองของสิ่งมีชีวิต


            ระบบประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วน คือ
1.ระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) ได้แก่ สมอง(BRAIN) และไขสันหลัง (SPIRAL CORD)
2.ระบบประสาทส่วนปลาย(PNS) หรือระบบประสาทรอบนอก ได้แก่เส้นประสาทสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และระบบประสาทอัตโนมัติ(AUTOMATIC NERVOUS SYSTEM)

เซลล์ประสาทประกอบด้วยส่วนสำคัญสองส่วนคือ
1.ตัวเซลล์ (CELL BODY) เป็นส่วนของไซโทพลาสซึมและนิวเคลียส
2.ใยประสาท(NERVE FIBER) คือแขนงเล็กๆ ที่ยื่นออกจากตัวเซลล์ได้แก่
- เดนไดรต์(DENDRITE) นำกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์
- แอกซอน(AXON) นำกระแสประสาทออกจากตัวเซลล์

            ข้อควรจำ
      แอกซอนที่ยาวๆ จะมีเยื่อไมอีลิน(MYELIN SHEATH) ซึ่งเป็นสารพวกไขมันหุ้มอยู่ทำให้ กระแสประสาทเคลื่อนที่ไปได้ เร็วกว่าเซลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มถึงประมาณ 10 เท่า
เซลล์ประสาทแบ่งตามการทำหน้าที่ ได้เป็น 3 ประเภท คือ
1.เซลล์ประสาทรับความรู้สึก(SENSORY NEURON) ทำหน้าที่รับความรู้สึกโดยตรงจากหน่วยรับความรู้สึก
2.เซลล์ประสาทนำคำสั่ง(MOTOR NEURON) ทำหน้าที่ส่งกระแสประสาทมาสั่งการและควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ
3.เซลล์ประสาทประสานงาน(ASSOCIATION NEURON) ทำหน้าที่ประสานงานทั้งในแง่การรับความรู้สึกและการนำคำสั่งภายในสมองและไข สันหลัง

              ข้อควรจำ
      วงจรการทำงานของเซลล์ประสาท ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 3 ระยะคือ
1. ระยะพัก (RESTING STAGE ) หรือระยะ โพลาไรเซชัน (POLARIZATION) มีขบวนการโซเดียมโพแทสเซียมปั๊มพ์(SODIUM POTASSIUM PUMP) เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
2. ระยะดีโพลาไรเซชั่น (DEPOLARIZATION) เป็นระยะที่เซลล์ประสาทถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า
3. ระยะรีโพลาไรเซชั่น (REPOLARIZATION) เป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อที่จะกลับเข้าสู่ระยะพักเช่นเดิม
          การถ่ายทอดกระแสประสาทจากเซลล์ประสาทหนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง   ปลายของแอกซอนและเดนไดรต์อยู่ใกล้ชิดกันมาก เรียกว่าไซแนปส์(SYNAPSE) ปลายแอกซอนจะพองออกเป็นกระเปาะ ภายในกระเปาะมีถุงเล็กๆซึ่งบรรจุสารสื่อประสาท(NEUROTRANSMITTER) ซึ่งสามารถหลั่งออกมาขณะที่เกิดกระแสประสาท ทำให้กระแสประสาทส่งไปในทิศทางเดียว คือ จากแอกซอน ไปยังเดนไดรต์ของเซลล์ถัดไปสารสื่อประสาทมีหลายชนิดเช่น อะซิติลโคลีน(ACETYLCHLOLINE) เอพิเนฟฟริน(EPINEPHRINE) นอร์เอพิเนฟฟริน(NOREPINEPHRINE) โดปามีน(DOPAMINE) เซอโรโทนิน (SEROTONIN) และเอนโดฟิน(ENDOPHINE) เป็นต้น   ศูนย์ควบคุมของระบบประสาท ได้แก่ สมอง และไขสันหลัง
       สมอง (BRAIN) มีลักษณะเป็นหลอดพองออกเต็มศีรษะ ผนังของหลอดประกอบด้วยเซลล์ประสาทประเยื่อเกี่ยวพัน(NEUROGLIA)

           สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ คือ
สมองส่วนหน้า(PROSENCEPHALON) ประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้
1.ซีรีบรัม(CEREBRUM) มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาสมองทั้งหมดมีหน้าที่
- เป็นศูนย์กลางเรียนรู้ ความคิด ความจำ เชาวน์ปัญญา การรับรู้ เช่นการมองเห็น การรับรส กลิ่นเสียง สัมผัส ความเจ็บปวด การพูด และการออกเสียง
- ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลาย
2.ออลแฟคตอรี่ บัลบ์(ALFACTORY BULB) ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดมกลิ่นเจริญได้ดีในปลา
3.ไฮโปทาลามัส(HYPOTHALAMUS) อยู่ด้านล่างของสมองส่วนหน้ายื่นมาติดกับต่อมใต้สมอง มีหน้าที่
- เกี่ยวข้องกับการควบคุมการสร้างฮอร์โมนภายในร่างกาย
- ควบคุมการทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทอัตโนมัติ เช่นการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิในร่างกาย
- เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ ความหิว ความอิ่ม และความรู้สึกทางเพศ
4.ทาลามัส เป็นศูนย์รวมและแยกกระแสประสาท
สมองส่วนกลาง (MESENCEPHALON)

- เป็นสถานีถ่ายทอดกระแสประสาท ระหว่างสมองส่วนหน้ากับสมองส่วนท้าย
สมองส่วนท้าย (RHOMBENCEPHALON)
5.ซีรีเบลลัม (CEREBELLUM)
- ควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
- ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อให้เป็นไปอย่างละเอียดอ่อนสละสลวย
6.เมดูลลาออบลองกาตา(MEDULLA OBLONGATA)
- ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ
- เป็นศูนย์ควบคุมการหายใจ การทำงานของหัวใจ การไอ การจาม การกระพริบตา
7.พอนส์(PONS)
- ควบคุมการเคลื่อนไหวบริเวณใบหน้า เช่น การเคี้ยว การกลืน การยิ้ม การหลั่งน้ำลาย

            ข้อควรจำ
       ก้านสมอง (BRAIN STEM) หมายถึง สมองส่วนกลาง พอนส์ และเมดุลลาออบลองกาตา จะมีกลุ่มเซลล์ประสาทและใยประสาทเชื่อมโยงกันทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมการนอนหลับ ความสติสัมปชัญญะ การหายใจความดันเลือด       อุณภูมิ และ การหลั่งเอนไซม์
                  การทำงานของระบบประสาท
ระบบประสาทแบ่งตามลักษณะการทำงานเป็น 2 แบบคือ
1.ระบบประสาทโซมาติก(SOMATIC NERVOUS SYSTEM ) เป็นระบบที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลาย อยู่ภายใต้การควบคุมของอำนาจจิตใจ

             ข้อควรระวัง
      รีเฟลกซ์อาร์ก หมายถึง วงจรการทำงานของระบบประสาท ที่สามารถทำหน้าที่ในตัวเองได้อย่างสมบูรณ์
รีเฟลกซ์แอกชั่น คือ ปฏิกิริยาโต้ตอบอย่างกะทันหัน เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายโดยไขสันหลังเป็นผู้สั่งงาน
ประกอบด้วยเซลล์ประสาทอย่างน้อย 2 ชนิด คือ เซลล์ประสาทรับความรู้สึก และเซลล์ประสาทนำคำสั่ง เช่น การกระตุกขาเมื่อเคาะใต้หัวเข่า (KNEEJERK REFLEX) การกระตุกขาเมื่อถูกตะปูตำ การหรี่ของม่านตา( PHOTO REFLEX) การไอและการจามเป็นต้น
2.ระบบประสาทอัตโนมัติ (AUTOMATIC NERVOUS SYSTEM) เป็นระบบประสาทที่อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ ประกอบด้วย 2 ระบบย่อยคือระบบประสาทซิมพาเธติก(SYMPATHETIC NERVOUS SYSTEM) และ พาราซิมพาเธติก(PARASYMPATHETIC NERVOUS SYSTEM) การทำงานของสองระบบนี้จะเป็นแบบตรงกันข้าม
      อวัยวะรับสัมผัส
ก. นัยน์ตาและการเห็นภาพ

      ตาประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น คือ
1.ชั้นนอก(SCLERA) เป็นชั้นที่เหนียวไม่ยืดหยุ่น เป็นส่วนที่เรียกว่าตาขาวด้านหน้าสุด คือกระจกตา(CORNEA)
2.ชั้นกลาง (CHOROID) เป็นชั้นที่มีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงและมีรงควัตถุแผ่กระจายอยู่มากมาย ประกอบด้วยม่านตา(IRIS) ซึ่งตรงกลางจะมีรูม่านตา(PUPIL) และเลนส์ตาซึ่งสามารถปรับโฟกัสได้โดยการทำให้นูนขึ้นและบางลง โดยกล้ามเนื้อยึดเลนส์
3.ชั้นใน(RETINA) เป็นชั้นที่ทำหน้าที่คล้ายกับจอรับภาพ ประกอบด้วยเซลล์รับแสง 2 ชนิด คือ
- เซลล์รูปแท่ง(RODCELL)เป็นเซลล์ที่ไวต่อแสง สามารถทำงานได้แม้มีแสงน้อย แต่ไม่สามารถบอกความแตกต่างของสีได้
- เซลล์รูปกรวย(CONE CELL) มี 3 ชนิดคือชนิดที่รับแสงสีแดงสีเขียวและสีน้ำเงินจะทำงานได้ต่อเมื่อต้องมีแสงสว่างเพียงพอ

         ข้อควรจำ
- จุดบอด(BLIND SPOT) เป็นบริเวณที่ไม่มีเซลล์ที่รูปแท่งและรูปกรวยอยู่เลย จึงไม่สามารถรับภาพและแสงได้
- จุดเหลือง (FOVEA) เป็นบริเวณที่มีเซลล์รูปกรวยอยู่เป็นจำนวนมากทำให้รับภาพได้ชัดเจนที่สุด
หูและการรับฟัง

      หูแบ่งเป็น 3 ชนิดคือ
1.หูส่วนนอก (EXTERNAL EAR) เป็นส่วนที่เริ่มตั้งแต่ใบหูถึงเยื่อแก้วหู
2.หูส่วนกลาง(MIDDLE EAR) ประกอบด้วยกระดูกหู 3 ชิ้น ที่มีรูปร่างคล้าย ค้อน ทั่งโกลน ทำหน้าที่รับการสั่นสะเทือนจากเยื่อแก้วหู(TYMANIC MEMBRANE) แล้วเพิ่มความถี่ของเคลื่อนเสียงเพื่อส่งต่อไปยังหูส่วนใน
3.หูส่วนใน

          ข้อควรจำ
หูส่วนในประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ
- SEMICIRCULAR CANAL ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัวของร่างกาย
- COCHLEA ทำหน้าที่เกี่ยวกับการฟัง

บทที่19 ระบบโครงร่างของร่างกาย

19. ระบบโครงร่างของร่างกาย


 ระบบโครงร่างของสิ่งมีชีวิต
1. พวกที่ไม่มีโครงร่างแข็ง เช่น โปรโตซัว ไส้เดือน แมงกะพรุน พลานาเรีย เป็นต้น
2. พวกที่มีโครงร่างแข็ง
        - โครงร่างแข็งภายนอก(ENDOSKELETION) เช่น แมลง และอาร์โทรปอดชนิดต่างๆ
        - โครงร่างแข็งภายใน(EXOSKELETON) เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด

                                                      โครงร่างแข็งของคน

             ระบบโครงกระดูก
ร่างกายของคนประกอบด้วยกระดูกทั้งสิ้น 206 ชิ้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
1. กระดูกแกน(AXIAL SKELETON) หมายถึงกระดูกที่อยู่บริเวณกลางลำตัว มีทั้งสิ้น 80 ชิ้นเช่น กระดูกกะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครงและกระดูกหน้าอกเป็นต้น
2. กระดูกระยางค์(APPENDICULAR SKELETON) เป็นกระดูกที่ยื่นห่างออกไปจากลำตัว มีทั้งสิ้น 126 ชิ้น ได้แก่กระดูกแขน กระดูกขาเป็นต้น

             ข้อต่อ(JOINT)
 1. ข้อต่อที่เคลื่อนไหวไม่ได้(IMMOVABLE JOINT) พบที่กะโหลกศีรษะ
 2. ข้อต่อที่เคลื่อนที่ไหวได้(MOVABLE JOINT)
      - ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้เล็กน้อย (GLIDING JOINT) เช่น ข้อมือข้อเท้า และสันหลังเป็นต้น
      - ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้มากแต่เป็นแบบบานพับ(HINGE JOINT) เช่น ข้อศอก หัวเข่าเป็นต้น
      - ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้รอบทิศ(BALL AND SOCKET JOINT) ได้แก่โคนขา ต้นแขน

              ข้อควรระวัง
      ลิกกาเมนต์(LIGAMENT) เป็นเอ็นที่ยึดกระดูกแต่ละท่อนติดกันอยู่
      เท็นดอน(TENDON) เป็นเอ็นที่ยึดกล้ามเนื้อให้ติดกับกระดูก

               ระบบกล้ามเนื้อ
       กล้ามเนื้อของคนแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
1. กล้ามเนื้อเรียบ (SMOOTH MUSCLE) เป็นกล้ามเนื้อที่พบอยู่ตามอวัยวะภายในเช่น ผนังกระเพาะอาหาร
2. กล้ามเนื้อลาย (STRIATED MUSCLE) พบทั่วไปตามอวัยวะต่างๆ
3. กล้ามเนื้อหัวใจ (CARDIAC MUSCLE) เป็นกล้ามเนื้อที่พบเฉพาะที่หัวใจเท่านั้น

                  การทำงานของกล้ามเนื้อลาย
       มัดกล้ามเนื้อแต่ละประกอบด้วยเส้นใยโปรตีน 2 ชนิด คือ
  แอกติน (ACTIN) เป็นเส้นใยโปรตีนที่มีขนาดเล็ก บางและมีสีจาง
  ไมโอซิน (MYOSIN) เป็นเส้นใยโปรตีนที่มีขนาดใหญ่ หนาและสีเข้มกว่า
โปรตีนทั้งสองชนิดนี้จะเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ สลับกันระหว่างแอกตินกับไมโอซิน
1. การหดตัวของกล้ามเนื้อเกิดจากการที่แอกตินเลื่อนเข้าหากัน ส่วนการคลายตัวของกล้ามเนื้อเกิดจากการเคลื่อนตัวออกจากกันของแอกติน
2. การทำงานของกล้ามเนื้อเป็นไปในลักษณะการทำงานแบบตรงข้าม(ANTAGONISM) กล้ามเนื้อที่หดตัวแล้วทำให้อวัยวะนั้นงอเรียกว่าเฟลกเซอร์เช่น กล้ามเนื้อ ไบเซฟที่ต้นแขน กล้ามเนื้อที่หดตัวแล้วทำให้อวัยวะนั้นเหยียดเรียกว่าเอกเทนเซอร์ เช่น กล้ามเนื้อ ไตรเซพ

                    การเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิต
1. การเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีโครงร่างแข็ง
       - การเคลื่อนไหวแบบอะมีบา (AMOEBOID MOVEMENT) โดยอาศัยการไหลของไซโตพลาซึมและยื่นส่วนของไซโตพลาซึมดันให้เยื่อหุ้มเซลล์ โป่งออกไปเป็นขาเทียม(PSEUDOPODIUM) พบในอะมีบา
       - การเคลื่อนไหวโดยใช้ FLAGELLUM และ CILIA
ภายในซิเลียและแฟลกเจลลัมจะประกอบด้วยหลอดเล็กๆเรียกว่า MICROTUBULE เรียงกันเป็นวง โดยรอบ 9 คู่ และอยู่ตรงกลางอีก 2 หลอดซีเลียพบใน พารามีเซียม ส่วนแฟลกเจลลัมพบในยูกลีนา
       - แมงกะพรุน เคลื่อนที่โดย การหดตัวของกล้ามเนื้อบริเวณขอบร่มทำให้น้ำพ่นออกมาทางปากเกิดแรงผลักให้ลำตัวพุ่งไปด้านตรงข้าม
       - หมึก จะมีท่อน้ำ(SIPHON) เพื่อพ่นน้ำทำให้สามารถเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้าม
       - ดาวทะเล จะมี ทิวฟีต(TUBE FEET) จำนวนมากใช้ในการเคลื่อนที่โดยการหดและยืดตัวสลับทำให้สามารถเคลื่อนที่ไปได้

              ข้อสังเกต
      แมงกะพรุน หมึกและดาวทะเล เป็นสัตว์ที่เคลื่อนที่โดยอาศัยแรงดันน้ำ
- ไส้เดือนดิน เคลื่อนไหวโดยกล้ามเนื้อที่ทำงานแบบตรงข้ามกัน(ANTAGONISM) 2 ชุดคือ กล้ามเนื้อวงกลม(CIRCULAR MUSCLE) กล้ามเนื้อตามยาว (LONGITUDINAL MUSCLE) และขนเล็กๆ (SETAE) ช่วยในการเคลื่อนที่
- พลานาเรียเคลื่อนไหวโดยกล้ามเนื้อที่ทำงานแบบแอนตาโกนิซึม 3 ชุด กล้ามเนื้อวงกลม กล้ามเนื้อตามยาว และกล้ามเนื้อบนล่าง (DORSO-VENTRAL MUSCLE) ทำให้ตัวแบบพริ้ว ด้านล่างของลำตัวพลานาเรียจะมีซีเรีย ช่วยโบกพัดเวลาว่ายน้ำ

                 ข้อสังเกต
      ไส้เดือนดินและพลานาเรียเคลื่อนที่โดยใช้กล้ามเนื้อที่ทำงานร่วมกันแบบแอนตาโกนิซึม โดยไส้เดือนดินใช้กล้ามเนื้อ 2 ชุด ส่วนพลานาเรียใช้ 3 ชุด
1. สัตว์ที่มีโครงร่างแข็งภายนอก
        - แมลง มีกล้ามเนื้อยึดระหว่างส่วนอกกับโคนปีก ซึ่งประกอบด้วยกล้ามเนื้อ 2 ชุดทำงานตรงกันข้ามกัน คือ กล้ามเนื้อยกปีกและกล้ามเนื้อกดปีก
2. การเคลื่อนไหวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
       การเคลื่อนไหวของสัตว์มีกระดูกสันหลังเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างระบบที่สำคัญ 2 ระบบ คือ
        - ระบบกล้ามเนื้อ
        - ระบบโครงกระดูก
        - ปลา เคลื่อนที่ขึ้นลงในแนวดิ่ง ครีบเดี่ยวเช่นครีบหางใช้ในการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า
        - โลมาและวาฬเคลื่อนที่ไปข้างหน้าโดยการตวัดหางและหัวขึ้นลงสลับกัน
        - แมวน้ำ ตะพาบน้ำ สิงโตทะเล และเต่าทะเล เคลื่อนที่โดยใช้ฟลิปเปอร์(FLIPPER) ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากรยางค์คู่หน้า
        - เป็ดและกบ เคลื่อนที่โดยการอาศัยพังผืดระหว่างนิ้วเท้า(WEB)
        - นกนอกจากโครงกระดูกและกล้ามเนื้อแล้วนกยังมีถุงลมแทรกอยู่ทำให้น้ำหนักตัวเบา และช่วยเก็บสำรองอากาศเพื่อใช้ในการหายใจเนื่องจากนกเคลื่อนที่โดยการบินซึ่งต้องใช้พลังงานมาก

                 ข้อสังเกต
      สัตว์ชนิดต่างๆ จะมีองค์ประกอบในการเคลื่อนไหวแตกต่างกัน และ ประสิทธิภาพก็อาจจะไม่เท่ากัน เช่นเสือชีต้าวิ่งได้เร็วมาก เพราะกระดูกสันหลังสามารถโค้งงอได้มาก ช่วยเพิ่มช่วงของการก้าวให้มากขึ้นทำให้เคลื่อนที่ได้เร็วยิ่งขึ้น

บทที่18 การสืบพันธุ์

18. การสืบพันธุ์
                         การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสัตว์บางชนิด
การสืบพันธุ์ แบ่งออกเป็น
1. แบบไม่อาศัยเพศ
-   การแบ่งตัวออกเป็นสองส่วน (BINARY FISSION) พบในอะมีบา พารามีเซียม และ แบคทีเรีย
-   การแตกหน่อ (BUDDING) พบในยีสต์ และ ไฮดรา
-   การงอกใหม่ (REGENERATION) พบในพลานาเรีย และ ดาวทะเล
2. แบบอาศัยเพศ
ก.   การสืบพันธุ์ของสัตว์ที่มีสองเพศอยู่ในตัวเดียวกัน
-   พลานาเรียและไส้เดือนดินต้องผสมข้ามตัวเนื่องจากไข่และอสุจิสุกไม่พร้อมกัน
-   ไฮดรา สามารถผสมได้ทั้งภายในตัวเดียวกันและข้ามตัว

            ตัวอย่างข้อสอบ
      สิ่งมีชีวิตใดต่อไปนี้มีการสืบพันธุ์แบบ TRANSVERSE BINARY FISSION
ก. ไฮดรา
ข.  ยูกลีนา
ค.  พารามีเซียม
ง.  อะมีบา
ตอบ ค.

ข้อใดเป็นไปได้มากที่สุดเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของไฮดราและไส้เดือนดิน


ค.   การสืบพันธุ์ของคน
       การสืบพันธุ์ของคนและสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ เป็นกระบวนการรวมตัวกันระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้(อสุจิ) และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (ไข่)

                                                    กระบวนการสร้างอสุจิ



             ข้อควรจำ
    ในคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่มีโอโอไซต์ระยะแรกตั้งแต่แรก เกิดและจะไม่มีเพิ่มขึ้นอีก โอโอไซต์ระยะแรกจะเริ่มแบ่งเซลล์ แบบไมโอซิสครั้งที่ 1 เมื่อเด็กหญิงเข้าสู่วัยสาว(PUBERTY) จนถึงวัยหมดประจำเดือน เมื่ออายุประมาณ 45-50 ปี ดังนั้นตลอดชีวิตของเพศหญิงจึงมีโอโอไซต์ระยะแรกที่โอกาสเจริญไปเป็นไข่ ประมาณ 400 เซลล์เท่าน้นส่วนสเปอร์มาโตไซต์ระยะแรกของเพศชายนั้น สร้างขึ้นได้ตลอดระยะของวัยเจริญพันธุ์

              ตัวอย่างข้อสอบ

    เพศหญิงมีการสร้างไอโอไซต์ระยะแรกเมื่อใด
ก.  แรกเกิด
ข.  อายุ 1 ขวบ
ค.  อายุ 7 ขวบ
ง.  อย่างเข้าสู่วัยสาว
ตอบ ก.
             ระบบสืบพันธุ์เพศชาย ประกอบด้วย
**    อัณฑะ มีถุงหุ้มอัณฑะทำหน้าที่ปรับอุณภูมิให้เหมาะสมต่อการสร้างตัวอสุจิ (ประมาณ 33-34 องศาสเซลเซียส)
-  SEMINIFEROUS TUBULE ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ
-  EPIDIDYMIS เป็นที่พักตัวอสุจิ
-  SEMINAL VESICLE ทำหน้าที่สร้างน้ำเลี้ยงตัวอสุจิ
-  ต่อมลูกหมาก ทำหน้าที่สร้างสารที่เป็นเบส
-  ต่อมคาวเปอร์ ทำหน้าที่สร้างสารหล่อลื่น
**    องคชาติ
**    อสุจิ ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
1. ส่วนหัว (HEAD) ประกอบด้วยนิวเคลียสเป็นส่วนใหญ่ มี ACROSOME เป็นถุงที่บรรจุเอนไซม์ สำหรับสลายเยื่อหุ้มเซลล์ไข่ อยู่ด้านหน้า
2. ส่วนกลาง (MIDDLE PIECE) เป็นส่วนของไมโตรคอนเดรีย ซึ่งทำหน้าที่ผลิตพลังงานสำหรับการเคลื่อนไหว
3. ส่วนหางเป็นไมโครทูบูล ทำหน้าที่ในการโบกพัดเพื่อการเคลื่อนที่

            ข้อควรจำ
    น้ำกาม(Semen) คือสารที่หลั่งจากต่อมต่างๆ ภายในอัณฑะ ประกอบด้วย อสุจิ น้ำเลี้ยงอสุจิ สารที่เป็นเบส และสารหล่อลื่น

             ตัวอย่างข้อสอบ
      สารใดที่สร้างจากต่อมลูกหมาก
ก. ตัวอสุจิ
ข. อาหารของตัวอสุจิ
ค. สารซึ่งมีสมบัติเป็นเบสอย่างอ่อน
ง. สารซึ่งช่วยหล่อลื่นทำให้อสุจิเคลื่อนที่ได้สะดวก
ตอบ ค.

                        ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
มดลูก ประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้นคือ
1. ชั้นใน (ENDOMETRIUM) เป็นชั้นที่มีการสร้างรก เพื่อเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนก๊าซและส่งอาหารให้ตัวอ่อน
2. ชั้นกลาง (MYOMETRIUM) เป็นชั้นที่เป็นกล้ามเนื้อให้ความแข็งแรงมีความยืดหยุ่นสูง ทำให้มดลูกขยายตัวได้ขณะตั้งครรภ์ และบีบตัวให้ทารกออกมาขณะคลอด (โดยการกระตุ้นของฮอร์โมน OXYTOCIN)
3. ชั้นนอก (SEROUS MEMBRANE) ผนังชั้นนอกสุด เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

                          กระบวนการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต
         การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตหมายถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปอย่างมีระเบียบ ยังผลให้เนื้อเยื่อมีความซับซ้อนขึ้น หรือสมบูรณ์ขึ้นทั้งในด้านโครงสร้างและหน้าที่การทำงาน การเจริญเติบโตเกี่ยวข้องกับขบวนการต่างๆต่อไปนี้คือ
1.  การเพิ่มจำนวนเซลล์(CELL MULTIPLICATION)
2.  การเจริญเติบโต (GROWTH)
3.  การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ (CELL DIFFERENTIATION)
4.  การเกิดรูปร่างที่แน่นอน(MORPHOGENESIS)

              ข้อควรจำ
      เซลล์ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตมีอัตราการเจริญเติบโตแตกต่างกัน เช่น เซลล์บางชนิดจะมีการ
เจริญขึ้นตลอดชีวิต เช่น หนังกำพร้า อสุจิ เยื่อบุผิวเซลล์ปอด เซลล์หัวใจ เป็นต้น

              ตัวอย่างข้อสอบ
      เซลล์ชนิดใดที่อยู่ในสภาพอินเตอร์เฟสตลอดเวลา
ก. เซลล์เยื่อบุผิวลำไส้
ข. เซลล์รับแสงของนัยน์ตา
ค. เซลล์ที่อยู่ขอบนอกของตับ
ง. เซลล์สเปอร์มาโตโกเนียม
ตอบ ข.

                                       การเจริญของสัตว์ชั้นสูง
   การเจริญของสัตว์แต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันไป โดยต่างก็มีแบบแผนเฉพาะตัว แต่โดยทั่วไปแล้ว จะมีลำดับขั้นตอนดังนี้
1.  คลีเวจ (CLEAVAGE)
เป็นการแบ่งเซลล์แบบไมโตรซิสเพื่อให้ได้เซลล์จำนวนมาก แบบแผนของการแบ่งเซลล์มีความแตกต่างๆกันออกไปดังต่อไปนี้
      - เซลล์ที่มีไข่แดงน้อย มีการแบ่งตัวตลอดทั้งเซลล์
      - เซลล์ที่มีไข่แดงมาก มีการแบ่งตัวเฉพาะบริเวณที่ไม่มีไข่แดงเพราะไข่แดงจะเป็นอุปสรรคต่อ
การแบ่งเซลล์
2.  บลาสตูลา(BLASTULA) เป็นระยะที่มีเซลล์จำนวนมากเรียงตัวเป็นชั้นเดียว ภายในเกิดเป็นโพรงเรียกว่า BLASTOCEAL ซึ่งบรรจุของเหลวอยู่เต็ม
3.  แกสตรูลา (GASTRULA) เซลล์จะเคลื่อนที่บุ๋มเข้าไปข้างในมีการม้วนตัว เพื่อทำให้เกิดชั้นของเนื้อเยื่อ (GERM LAYER) คือ ECTODERM MESODERM และ ENDODERM
4.  มอร์โฟเจเนซิส (MORPHOGENESIS) เซลล์จะจับกลุ่มสร้างเนื้อเยื่อและอวัยวะเพื่อเกิดเป็นรูปร่างแน่นอน

             ข้อควรจำ
การจำแนกชนิดของไข่ตามปริมาณของไข่แดง
1. ALECITHAL EGG เป็นไข่มีไม่มีไข่แดง ได้แก่ไข่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
2. ISOLECITHAL EGG เป็นไข่ที่มีไข่แดง ได้แก่ไข่ของแม่นทะเล และดาวทะเล
3. MORDERATELY TELOLECITHAL EGG ไข่ที่มีปริมาณของไข่แดงปานกลางได้แก่ไข่ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
4. HEAVY TELOLECITHAL EGG ไข่ที่มีปริมาณของไข่แดงมากได้แก่ ไข่ของสัตว์ปีก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา หอย แมลง หมึก

              ตัวอย่างข้อสอบ
      สัตว์พวกใดต่อไปนี้ มีไข่ชนิด TELOLECITHAL EGG
ก. คางคก
ข. ดาวทะเล
ค. นกกระทา
ง. แมลงทับ
ตอบ ค.
                                 
                                เมทามอร์โฟซิส (METAMORPHOSIS)
เป็นการเปลี่ยนแปลงเป็นขั้นๆ ในระยะที่มีการเจริญเติบโต ส่วนมากพบใน กบและแมลง ดังนี้
1. เมทามอร์โฟซิสแบบสมบูรณ์ (COMPLETE METAMORPHOSIS) มีการเปลี่ยนแปลงครบ 4 ระยะ คือ ไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และตัวเต็มวัย พบใน ด้วง ยุง แมลงวัน แมลงหวี่ ผีเสื้อ
2. เมทามอร์โฟซิสแบบไม่สมบูรณ์ (INCOMPLETE METAMORHOSIS) มีการเปลี่ยนแปลง 3 ระยะ คือไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย เช่น ตั๊กแตน จิ้งหรีด แมลงสาบ มวน แมลงปอ
3. ไม่มีเมทามอร์โฟซิส(WITH OUT METAMORPHOSIS) ไม่มีเปลี่ยนแปลงเป็นขั้นๆ เช่น ตัวสามง่าม แมลงหางดีด

            ตัวอย่างข้อสอบ
แมลงชนิดใดที่มีการเจริญเติบโตชนิดเมตามอร์โฟซิสแบบสมบูรณ์
ก.  แมลงสาบ
ข.  ตั๊กแตน
ค.  แมลงปอ
ง.  ยุง
ตอบ ง.

                                       การเจริญของเอมบริโอของคน
   ตัวอ่อนของคนจะมีรถ(PLACENTA) เป็นทางติดต่อกับแม่เพื่อรับอาหาร แลกเปลี่ยนก๊าซและขับถ่าย โดยมีสายสะดือ(UMBLICAL CORD) ติดต่อระหว่างเอ็มบริโอกับรก มีถุงน้ำคร่ำหุ้มอยู่โดยรอบ ในเอมบริโอมีอายุครบ 8 สัปดาห์ จะมีรูปร่างคล้ายเด็กอ่อน เราจะเรียกระยะนี้ว่า ฟีตัส (FETUS) และเมื่ออายุครบ 270-295 วันก็จะคลอดออกมา

               ข้อควรจำ
      สภาวะบางประการที่มีผลต่อการเจริญของทารกในครรภ์
-   อาหารที่ได้รับต้องครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะ โปรตีน เพราะเกี่ยวข้องกับการเจริญของระบบประสาท
-   สารบางอย่าง เช่น ยากกล่อมประสาทพวกทาลิโดไมด์(THALIDOMIDE) การดื่มสุรา และการเจริญผิดปกติหรือแท้งได้
-   โรคบางอย่างเช่น ถ้าแม่เป็นหัดเยอรมัน ในระยะแรกๆของการตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกมีการเจริญเติบโตของหัวใจ เลนส์ตา หูส่วนใน และ สมองผิดปกติได้

บทที่17 การขับถ่ายและการรักษาสมดุลของร่างกาย

17. การขับถ่ายและการรักษาสมดุลของร่างกาย


                   การขับถ่ายของสิ่งมีชีวิต



           ข้อสังเกต     
        แมลงเป็นสัตว์ที่มีระบบขับถ่าย ที่มีความเกี่ยวข้องกับทางเดินอาหารมากที่สุด คือ ของเสียจะปนไปกับอุจจาระ และผ่านออกทางทวารหนัก
     ไต เป็นอวัยวะขับถ่ายของคน
-  มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว
-  GLOMERULUS
-  BOWMAN’S CAPSULE มีลักษณะคล้ายถ้วย เป็นแหล่งที่เกิดกระบวนการกรองสาร
-  ท่อขดส่วนต้น (DISTAL CONVOLUTED TUBULE) เป็นบริเวณที่มีการดูดกลับสารที่มีประโยชน์
-  ALDOSTERONE จากต่อมหมวกไต ควบคุมการดูดกลับของโซเดียมและกลูโคส
-  ADH (VASOPRESSIN) จากต่อมใต้สมองส่วนหลัง ควบคุมการดูดกลับของน้ำ โดยการสั่งการจาก HYPOTHALAMUS ซึ่งมีเซลล์ที่สามารถรับรู้ปริมาณน้ำในเลือดคอยควบคุม
              
                       การดูดกลับของสารที่ไตเกิดขึ้นโดยอาศัย 2 กระบวนการ คือ
-  ACTIVE TRANSPORT เป็นการดูดกลับของสารที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย เช่น กลูโคส วิตามิน กรดอะมิโน ฮอร์โมน และอิออนต่างๆ
-  OSMOSIS เป็นการดูดกลับของน้ำ

            ตัวอย่างข้อสอบ
      ไตของคนปกติจะมีสารที่กรองผ่านโกลเมอรูลัสเข้ามาในหน่วย เนฟรอน มากน้อยตามลำดับดังนี้
ก.  โพลีเปปไทด์ และกรดอะมิโน, คลอไรด์, กลูโคส, ยูเรีย
ข.  ยูเรีย, คลอไรด์, กลูโคส, โพลีเปปไทด์ และกรดอะมิโน
ค.  น้ำ, ยูเรีย, กลูโคส, โพลีเปปไทด์ และกรดอะมิโน
ง.  น้ำ, โพลีเปปไทด์ และกรดอะมิโน, ยูเรีย, กลูโคส
ตอบ ก.

      เหตุผลที่สำคัญที่สุดที่การปลูกถ่ายไต (kidney transplatation) เป็นที่นิยมแพร่หลายกว่าการปลูกถ่าย อวัยวะสำคัญอื่นๆ เพราะเหตุใด
ก. ผู้ได้รับมีโอกาสรอดชีวิตได้
ข. ทั้งที่ผู้ให้และผู้รับสามารถรอดชีวิตได้
ค. สะดวกในการผ่าตัดมากกว่าการปลูกถ่ายอวัยวะอื่นๆ
ง. การใช้ไตเทียมไม่สะดวกในการประกอบภารกิจของผู้ป่วย
ตอบ ข.

                                  การรักษาอุณหภูมิภายในร่างกาย
      หากจำแนกสัตว์ตามความสามารถในการรักษาอุณหภูมิภายในร่างกายจะแบ่งสัตว์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1.  สัตว์เลือดอุ่น (HOMEOTHERMIC ANIMAL) เป็นสัตว์ที่สามารถรักษาระดับอุณหภูมิภายในร่างกายให้คงที่อยู่ได้ ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
2.  สัตว์เลือดเย็น (POIKILOTHERMIC ANIMAL) เป็นสัตว์ที่อุณหภูมิภายในร่างกายเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน และพวกปลา

                                   สัตว์มีกลไกในการรักษาอุณหภูมิของร่างกาย คือ
1.   โครงสร้างของร่างกาย เช่น สัตว์ที่อยู่ในเขตหนาวจะมีขนยาวกว่าสัตว์ที่อยู่ในเขตร้อน
2.   กลไกทางสรีรวิทยา ไฮโปทาลามัส (HYPOTHALAMUS) จะไวต่ออากาศหนาว

           ข้อควรจำ
     เมื่อได้รับการกระตุ้น ไฮโปทาลามัสจะไปกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้
-   ทำให้เส้นเลือดที่นำเลือดมาเลี้ยงผิวหนังหดตัว ทำให้เลือดที่มาเลี้ยงผิวหนังลดปริมาณลง ร่างกายจะสูญเสียความร้อนน้อยลง
-   กระตุ้นเส้นประสาทควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อโคนขนทำให้ขนลุกชัน และกล้ามเนื้อให้หดตัวจนเกิดอาการสั่น
-   กระตุ้นให้ต่อมไร้ท่อหลั่งฮอร์โมนไปกระตุ้นปฏิกิริยาการสลายอาหารให้ปล่อยพลังงานออกมาเพิ่ม เพื่อชดเชยความร้อนที่ร่างกายสูญเสียไป

              ตัวอย่างข้อสอบ
      ในฤดูหนาวร่างกายของสัตว์เลือดอุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ก.  เส้นเลือดหดตัวและลดอัตราการเต้นของหัวใจ
ข.  เส้นเลือดหดตัวและเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ
ค.  เส้นเลือดขยายตัวและเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ
ง.  เส้นเลือดขยายตัวและลดอัตราการเต้นของหัวใจ
ตอบ ข.

               3. การปรับพฤติกรรม
-   สัตว์ที่ไม่มีเหงื่อเช่น สุนัข จะระบายความร้อนทางลิ้นและเพดานปากในลักษณะที่เรียกว่า หอบ
-   แมว ระบายความร้อนโดยการเลียอุ้งเท้า
-   ควายจะนอนแช่ปลักโคลนเพื่อระบายความร้อนไปสู่น้ำ
-   หลีกเลี่ยงอุณหภูมิหรือสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น
-   การอาศัยอยู่ใน โพรงไม้ และการขุดรูอยู่
-   การออกหากินในเวลากลางคืน

                ข้อควรจำ

      การจำศีลของกบ คือ การอยู่นิ่งๆไม่เคลื่อนไหว มีอัตราเมแทบอลิซึมต่ำมาก อัตราการหายใจและการเต้นของหัวใจและการเต้นของหัวใจต่ำ และใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกาย
การหนีหนาวของ หนู กระรอก และค้างคาวบางชนิด คือ การนิ่งๆไม่เคลื่อนไหว แต่อัตราการหายใจ และเมแทบอลิซึมไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก

                ตัวอย่างข้อสอบ
      หมีที่อยู่ในเขตหนาว เมื่อถึงฤดูหนาวจะขุดโพรงอยู่จนกว่าฤดูหนาวจะหมดไป เราถือว่า เป็นการจำศีลหรือไม่
ก.  เป็นการจำศีล เพราะไม่เคลื่อนไหวตลอดฤดูหนาว
ข.  เป็นการจำศีล เพราะไม่ยอมกินอาหารเลยตลอดฤดูหนาว
ค.  ไม่เป็น เพราะเมแทบอลิซึมและอัตราการหายใจยังคงเดิม
ง.  ไม่เป็น เพราะมีการกินอาหารตุนไว้ก่อนถึงฤดูหนาว
ตอบ ค.

                                 การรักษาสมดุลของกรด-เบสในร่างกาย
กลไกรักษาสมดุลของกรด-เบสมีอยู่ 3 แบบ คือ
1.  ระบบหายใจ โดยการควบคุมปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ของสมองส่วน MEDULLA OBLONGATA
2.  ระบบบัฟเฟอร์ เลือดจะมี pH อยู่ระหว่าง 7.35 – 7.45
3.  ระบบขับถ่าย โดยการขับออกทางปัสสาวะมีประสิทธิภาพในการรักษาสมดุลสูง แต่ทำงานได้ช้ากว่าระบบอื่นๆ

                                  การรักษาสมดุลของร่าตุ
-   ปลาน้ำจืดอยู่ในสารละลายที่มีความเข้มข้นต่ำ จึงมีการถ่ายปัสสาวะบ่อยและเจือจาง มีเซลล์ดูดกลับแร่ธาตุที่เหงือก
-   ปลาทะเลอยู่ในสารละลายที่มีความเข้มข้นสูง จึงไม่มีการถ่ายปัสสาวะบ่อยและมีการขับแร่ธาตุออกทางเหงือก
-   นกทะเลขับแร่ธาตุที่มากเกินไปออกทางต่อมนาสิก (NASAL GLAND)

              ตัวอย่างข้อสอบ
ในปลากระดูกแข็งที่อยู่ทะเลมีกระบวนการใดที่ทำกันอย่างต่อเนื่อง
ก. ต้องการน้ำ และขจัดเกลือ
ข. ขจัดทั้งเกลือและน้ำ
ค. ขจัดน้ำ และต้องการเกลือ
ง. ต้องการทั้งน้ำ และเกลือ
ตอบ ก.

บทที่16 การหายใจ

16. การหายใจ


         การหายใจ หมายถึง ขบวนการหรือปฏิกิริยาในการสลายสารอาหารของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้ได้มาซึ่งพลังงานสำหรับใช้ในการดำรงชีพ ทั้งนี้โดยอาศัยเอนไซม์หลายชนิดและส่วนมากต้องใช้ออกซิเจนด้วย
การหายใจโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ
1.  การหายใจภายใน (INTERNAL RESPIRATION) เป็นการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นระหว่างเซลล์กับเลือดหรือน้ำเหลืองกับน้ำ
2.  การหายใจภายนอก (EXTERNAL RESPIRATION) เป็นการแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างของเหลวในระบบหมุนเวียนกับสิ่งแวดล้อม เช่น การหายใจของคนซึ่งเกิดขึ้นที่ปอด

           ตัวอย่างข้อสอบ
      ข้อใดเป็นความหมายของการหายใจในทางชีววิทยา
ก.   การสูดลมหายใจเข้าและการปล่อยลมหายใจออก
ข.   การแลกเปลี่ยนก๊าซที่เกิดขึ้นระหว่างเซลล์ร่างกายกับสิ่งแวดล้อม
ค.   การสลายโมเลกุลของอาหารในสิ่งมีชีวิต เพื่อให้ได้พลังงาน
ง.   กระบวนการกำจัดก๊าซเหลือใช้ที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต
ตอบ ค.

                                               การหายใจของสิ่งมีชีวิต


             ข้อสังเกต
      โครงสร้างสำหรับแลกเปลี่ยนก๊าซของสัตว์มีความแตกต่างกันมากมายแต่มักจะมีลักษณะร่วมกันอยู่หลายประการ คือ
1.    มีความชุมชื้นอยู่เสมอ
2.    มีผนังบาง
3.    มีเลือดมาหล่อเลี้ยง
4.    มีพื้นที่ผิวสัมผัสมาก

             ตัวอย่างข้อสอบ
      ขณะที่กบดำน้ำกระบวนการแลกเปลี่ยนก๊าซจะเกิดขึ้นที่
ก.  ปอด
ข.  ผิวหนัง
ค.  เหงือก
ง.  ท่อลม
ตอบ ข.

      คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของอวัยวะหายใจของสัตว์ คืออะไร
ก.  มีถุงลมมาก
ข.  มีพื้นที่ผิวมาก
ค.  มีขนาดใหญ่จุอากาศได้มาก
ง.  มีความชุ่มชื้น
ตอบ ง.

                    โครงสร้างและกลไกสำหรับการแลกเปลี่ยนก๊าซของคน
      ทางเดินอากาศ (RESPIRATORY TRACT) ของคน ประกอบด้วย
รูจมก (NOSTRIL) >>> ช่องจมูก (NASAL CAVITY) >>> คอหอย (PHARYNX)>>> ขั้วปอด (BRONCHUS)
>>> แขนงขั้วปอด (BRONCHIOLE) >>> หลอดลม (TRACHEA)>>> ถุงลม (ALVEOLUS)

                               การเดินทางเข้าและออกจากปอดของอากาศ
       อากาศเข้าและออกจากปอดโดยอาศยหลักของความแตกต่างระหว่างความดันอากาศภายในปอดกับอากาศภายนอกปอด โดยการเพิ่มและลดปริมาตรของทรวงอก เนื่องจากการเคลื่อนไหวของซี่โครงและกระบังลม (DIAPHRAM) อัตราการหายใจปกติของคนประมาณ 12-16 ครั้งต่อนาที

             ข้อควรจำ
      การหายใจของคนเราอยู่นอกเหนือการควบคุมของอำนาจจิตใจ โดยมีการควบคุมอยู่ที่ศูนย์หายใจ (BREATHING CENTER) ที่สมองส่วน MEDULLA OBLONGATA) เซลล์สมองส่วนนี้มีความว่องไวต่อปริมาณ CO2 ถ้าปริมาณของ CO2 มาก ศูนย์หายใจจะกระตุ้นให้มีการหายใจเร็วขึ้น ถ้าปริมาณ CO2 ต่ำ ศูนย์หายใจจะกระตุ้นให้มีการหายใจช้าลง

              ตัวอย่างข้อสอบ
      ในขณะที่เรานอนหลับอัตราการหายใจจะอยู่ในสภาพใด
ก.  ช้าลง เพราะเมดุลลาออบลองกาตาไม่ทำงานเนื่องจากมี CO2 สูง
ข.  ช้าลง เพราะเมดุลลาออบลองกาตาไม่ถูกกระตุ้นแรง เนื่องจากมี CO2 ต่ำ
ค.  ช้าลง เพราะเมดุลลาออบลองกาตาไม่ถูกกระตุ้นแรง เนื่องจากมี O2 ต่ำ
ง.  ช้าลง เพราะหัวใจเต้นช้าและมีกระบวนการเมตาบอลิซึมต่ำ
ตอบ ข.

                                        การหายใจระดับเซลล์
       การหายใจระดับเซลล์ คือ การสันดาปอาหารจนเกิดพลังงานในรูปของสารประกอบที่มีพลังงานสูง การหายใจระดับเซลล์แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
1.  การหายใจแบบใช้ออกซิเจน (AEROBIC RESPIRATION)
2.  การหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน (ANAEROBIC RESPIRATION)

                                        การสลายโมเลกุลของสารอาหารแบบใช้ออกซิเจน
      สารอาหารที่ให้พลังงานได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน แต่สารที่เป็นแหล่งพลังงานหลักที่เซลล์นำมาใช้ คือ กลูโคส
การสลายกลูโคสแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ
1.  ไกลโคไลซิส (GLYCOLYSIS)
2.  การสร้างซีติลโคเอนไซม์เอ (ACETYL COENZYME A)
3.  วัฏจักรเครบส์ (KREB’S CYCLE)
4.  การถ่ายทอดอิเลคตรอน (ELECTRON TRANSFER)

           ข้อสังเกต
      การหายใจแบบไม่ใช้ ออกซิเจน
-   ได้พลังงาน 2 ATP
-   ในพืชและยีสต์ได้เอทิลแอลกอฮอล์เป็นผลิตภัณฑ์
-   ในกล้ามเนื้อลายและแบคทีเรียบางชนิคได้กรดแลกติกเป็นผลิตภัณฑ์

            ตัวอย่างข้อสอบ
      ผลจากการหายใจในภาวะที่ไม่มีออกซิเจนในมนุษย์ คือ
ก.  กรดไพรูวิก
ข.  กรดมาลิก
ค.  กรดแลกติก
ง.  กรดซักซินิก
ตอบ ค.

      ถ้าร่างกายไม่ได้รับ O2 ขบวนการหายใจจะมีแค่ระยะใด
ก. ไกลโคไลซิส
ข.  การสร้างซีติลโคเอนไซม์เอ
ค.  วัฏจักรเครบส์
ง.  การถ่ายทอดอิเลคตรอน
ตอบ ก.

      ออกซิเจนเข้าไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการหายใจในขั้นใด
ก. ไกลโคไลซิส
ข.  การสร้างซีติลโคเอนไซม์เอ
ค.  วัฏจักรเครบส์
ง.  การถ่ายทอดอิเลคตรอน
ตอบ ค.

                                        แหล่งที่เกิดการหายใจระดับเซลล์
       การหายใจระดับเซลล์จะเกิดขึ้นภายในไมโตคอนเดรีย (MITOCHONDRIA) โดยมีแหล่งที่เกิดปฏิกิริยาในขั้นตอนต่างๆดังนี้
-  ไกลโคไลซิส เกิดในไซโทพลาซึม
-   วัฏจักรเครบส์ เกิดในส่วนที่เป็นของเหลว (MATRIX)
-   การถ่ายทอดอิเลคตรอน เกิดขึ้นที่เยื่อชั้นในของไมโทคอนเดรีย

บทที่15 การลำเลียงสาร

15. การลำเลียงสาร

         การลำเลียงสาร หมายถึง การนำเอาสารอาหารที่ย่อยแล้ว ออกซิเจนรวมทั้งสารที่เนื้อเยื่อหรืออวัยวะบางอย่างสร้างขึ้น เช่น ฮอร์โมน ไปยังเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย และนำของเสียจากเซลล์ไปสู้โครงสร้างที่ทำหน้าที่ขับถ่ายนำไปสู่ภายนอกร่างกาย

                                   การลำเลียงในสัตว์ชั้นต่ำ
- ไฮดรา หลานาเรีย อาศัยการแพร่ของสารอาหารผ่านไปยังเซลล์ถัดไป
-  สัตว์ชั้นสูงขึ้นมาจะเริ่มมีระบบหมุนเวียนเลือดซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ
1. ระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด ( OPEN CIRCULATORY SYSTEM ) ระบบนี้บางช่วงเลือดจะไหลไปตามช่องว่างของลำตัว และช่องว่างระหว่างอวัยวะพบในมอลลัสจำพวกหอยและ อาร์โทรปอด
2. ระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด ( CLOSE CIRCULATORY SYSTEM ) ระบบนี้เลือดจะไหลอยู่ภายในหลอดเลือด จากหัวใจไปสู่ส่วนต่างๆ แล้วกลับเข้าสู่หัวใจ ระบบนี้จะมีเส้นเลือดฝอยอยู่ด้วย พบในพวก แนนีลิด คอร์ดาตามอลลัสพวกหมึก

           ตัวอย่างข้อสอบ
สัตว์ชนิดใดมีระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด
ก.ไส้เดือนดิน
ข. แม่เพรียง
ค. กุ้งกุลาดำ
ง. ปลาหมึกกล้วย
ตอบ ค.

                                             สัตว์มีกระดูดสันหลัง
        มีระบบเลือดแบบปิดและมีหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือด
- ปลามีหัวใจ 2 ห้อง คือห้องบน ( ATRIUM ) และห้องล่าง ( VENTRICLE )
- สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ มีหัวใจ 3 ห้อง
- สัตว์เลื้อยคลาน มีหัวใจ 3 ห้อง แต่มีแผ่นกล้ามเนื้อกั้นกลางบางส่วน
- จระเข้มีแผ่นกั้นตลอดแต่มีรูตรงกลางแผ่นกั้น จึงถือว่าจระเข้เป็นสัตว์ที่เริ่มมีหัวใจ 4 ห้อง
- สัตว์ปีกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มีหัวใจ 4 ห้อง

               ตัวอย่างข้อสอบ
เราจะพบลักษณะที่เหมือนกันของหัวใจสัตว์ 2 ชนิด คือ กบและหมูในข้อใด
ก. มีเวนตริเคิลสองห้อง
ข. เลือดที่มีออกซิเจนสูงไหลเข้าสู่หัวใจห้องเอเตรียมซ้าย
ค. เลือดที่มีออกซิเจนสูงไหลเข้าสู่หัวใจห้องเอเตรียมขวา
ง. เลือกที่เข้าหัวใจห้องเอเตรียมซ้ายนี้มาจากจากปอดเท่านั้น
ตอบ ข.

                                                     ระบบลำเลียงของคน
                 ระบบหมุนเวียนเลือด
มีโครงสร้างที่เกี่ยวข้อดังนี้
1. หัวใจ ( HEART )
         หัวใจของคนมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม มี 4 ห้อง คือ ห้องบน ( AURICELE หรือ ATRIUM ) 2 ห้อง และห้องล่าง ( VENTRICLE )

              ข้อควรจำ

    หัวใจห้องล่างซ้ายมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีผนังหนาที่สุดเนื่องจากต้องสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย

               ตัวอย่างข้อสอบ
หัวใจคนห้องใดมีแรงบีบมากที่สุด
ก. ห้องบนขวา
ข. ห้องบนซ้าย
ค. ห้องล่างขวา
ง. ห้องล่างซ้าย
ตอบ ง.


2. เส้นเลือด ( BLOOD VESSEL )
เส้นเลือดแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. เส้นเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจ ( ARTERY ) นำเลือดที่มีออกซิเจนสูงไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย
2. เส้นเลือดที่นำเลือดเข้าสู่หัวใจ ( VEIN ) นำเลือดที่มีออกซิเจนต่ำเข้าสู่หัวใจ โดยมีลิ้นกั้นอยู่ภายในทำให้ไหลไปใน ทิศทางเดียว
3. เส้นเลือดฝอย ( CAPILLARY ) เป็นเส้นเลือดขนาดเล็กแทรกไปตามเนื้อเยื่อต่างๆของ
ร่างกาย มีผนังบางมากจึงสามารถแลกเปลี่ยนก๊าซและสารต่างๆระหว่างเลือดกับเซลล์ของร่างกายได้ดี

             ข้อควรจำ
1.เส้นเลือด PULMONARY ARTERY นำเลือดที่มีออกซิเจนต่ำเข้าไปฟอกที่ปอด
2.เส้นเลือด PULMONARY VEIN นำเลือดที่มีออกซิเจนสูงที่ฟอกแล้วจากปอดกลับเข้าสู่หัวใจ

              ตัวอย่างข้อสอบ
เส้นเลือดใดมีออกซิเจนในปริมารมาก
ก. PULMONARY ARTERY
ข. PULMONARY ARTERY
ค. RENAL VEIN
ง. HEPATIC VEIN
ตอบ ข.

      ความดันเลือด คือ แรงดันที่ทำให้เลือดไหลไปตามเส้นเลือด แรงดันนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการบีบตัวของหัว
ใจ แรงดันนี้มี 2 ค่า คือ
1. ความดันซิสโตลิก ( SYSTOLIC PRESSURE ) คือ ความดันเลือดสูงสุดขณะที่หัวใจบีบตัว
2. ความดันไดแอสโตลิก ( DIASTOLIC PRESSURE ) คือ ความดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว

              ข้อควรจำ
1.  การวัดความดันจะวัดจากเส้นเลือดอาร์เทอรีที่อยุ๋ใกล้หัวใจ โดยทั่วไปนิยมวัดจากเส้นเลือดอาร์เทอรีที่ต้นแขน โดยใช้เครื่องมือสฟิกโมนาโมมิเตอร์ ( SPHYGMONANOMETER )
2. ในผู้ใหญ่ปกติจะมีค่าความดันเลือด 120/80 มิลลิเมตรปรอท

              ตัวอย่างข้อสอบ
ความดันเลือดสูงสุด พบได้ในบริเวณใด
ก. เออร์ตา
ข. อาร์เตอรี
ค. เวน
ง. เวนาคาวา
ตอบ ก.

3. เลือด ( BLOOD )
เลือดประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ
1. เม็ดเลือด ( CORPUSCLE ) ได้แก่
         - เม็ดเลือดแดง ( ERYTHROCYTE ) มีโปรตีน HAEMOGLOBIN อยู่ที่เยื่อหุ้มเซลล์ ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจน
         - เม็ดเลือดขาว ( LEUCOCYTE )
แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
                    1. PHAGOCYTE เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำลายเชื้อโรคโดยวิธี PHAGOCYTOSIS ( จับกิน )
                    2. LYMPHOCYTE เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่สร้าง ANTIBODY ขึ้นมา ต้านสิ่งแปลก
ปลอม
          - เกล็ดเลือด ( THROMBOCYTE ) ช่วยในการแข็งตัวของเลือด

            ข้อควรจำ
        การแข็งตัวของเลือด ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของปัจจัยหลายประการ ได้แก่ เกล็ดเลือด โปรตีน FIBRINOGEN วิตามิน K และแคลเซียม

            ตัวอย่างข้อสอบ
ปัจจัยในข้อใดไม่จำเป็นสำหรับการแข็งตัวของเลือด
ก. แคลเซียม
ข. วิตามิน K
ค. เพลตเลต
ง. โกลบูลิน
ตอบ ง.

2. น้ำเลือด ( PLASMA ) ประกอบด้วย น้ำ โปรตีน สารอนินทรีย์ ก๊าซ ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์และไนโตรเจน ของเสีย เช่นยูเรีย กรดยูริก และกรดแลคติก ฮอร์โมน และแอนติบอดี

                             หมู่เลือด และการให้เลือด
        ในปี 1900 KARL LANDSTEINER ได้ใช้ลักษณะของ AGGLUTINOGEN ( ANTIGEN ) A หรือ B ที่อยู่ที่ผิวเม็ดเลือดแดง มาแบ่งเลือดออกเป็น 4 หมู่ ใหญ่ คือ A , B , AB และ O
การให้เลือดต่างหมู่สามารถทำได้ดังนี้


               ตัวอย่างข้อสอบ
คนหมู่เลือด B สามารถรับเลือดจากหมู่ใดได้
ก. B
ข. AB
ค. O
ง. ข้อ ก. และ ค.
ตอบ ง.

                                             หมูเลือด Rh
       LANDSTEINER และ WIENER ได้ค้นพบระบบหมู่เลือดอีกแบบหนึ่งที่รู้จักกันดีในปัจจุบันนี้ กล่าวคือ
-  คนส่วนใหญ่จะมีแอนติบอเจน Rh อยู๋ที่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงแต่ไม่มีแอนติบอดี Rh ในน้ำเลือด เรียกว่าหมู่ Rh
-  บางคนไม่มีแอนติเจน Rh อยู่ที่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงและไม่มีแอนติบอดี Rh ในน้ำเลือด เรียกว่าหมู่ Rh-
-  ถ้าคนที่มีเลือด Rh- ได้รับเลือดจากคนที่มีเลือด Rh+ เข้าไปในร่างกายของ
ผู้รับจะถูกกระตึ้นให้สร้างแอนติบอดี Rh ขึ้น ในการรับเลือด Rh+ ครั้งต่อไป แอนติบอดี Rh จะทำปฏิกิริยากับแอนติเจน Rh ทำให้เกิดอันตรายขึ้น

                ข้อควรจำ
-  ERYTHROBLASTOSIS FETALIS เป็นอาการของเด็กทารกที่เกิดจากคู่สมรสที่มีสามีมีเลือด Rh+ ภรรยามีเลือด Rh- เลือดของลูกคนแรกอาจกระตุ้นให้แม่สร้างแอนติบอดี Rh ขึ้นเมื่อมีครรภ์ครั้งต่อมา และทารกมีเลือด Rh+ อีกจะเกิดอันตรายขึ้นได้ เนื่องจากปฏิกิริยาระหว่างแอนติบอดีในเลือดแม่กับแอนติเจน Rh ในเลือด ลูก ทารกอาจมีอาการตัวเหลืองหรือเสียชีวิตได้

                 ตัวอย่างข้อสอบ
ครอบครัวใดที่อาจมีปัญหาในการให้กำเนิดบุตรคนที่สอง
ก. สามี Rh+ , ภรรยา Rh- , บุตรคนแรก Rh-
ข. สามี Rh+ , ภรรยา Rh- , บุตรคนแรก Rh-
ค. สามี Rh- , ภรรยา Rh+ , บุตรคนแรก Rh+
ง. สามี Rh- , ภรรยา Rh+ , บุตรคนแรก Rh-
ตอบ ก.

                              ระบบน้ำเหลือง ( LYMPHATIC SYSTEM ) ประกอบด้วย
1. น้ำเหลือง เป็นของเหลวที่ซึมผ่านผนังเส้นเลือดฝอยออกมาอยู่รอบๆเซลล์ ประกอบด้วย อัลบูมิน กลูโคส น้ำ เอนไซม์ ฮอร์โมน เซลล์เม็ดเลือดขาว และก๊าซต่างๆ
2. ท่อน้ำเหลืองเป็นท่อปลายปิดมีลิ้นอยู่ภายใน เพื่อให้ไหลเข้าสู่หัวใจทิศทางเดียวกันตลอด แล้วจึงเข้าสู่หัวใจทางเส้นเลือดดำใกล้หัวใจ ( SUBCLAVIAN VEIN )
3. ต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะน้ำเหลือง
-  ต่อมน้ำเหลือง ( LYMPH GLAND ) มีอยู่ทั่วไปในร่างกาย ต่อมน้ำเหลืองมีหน้าที่ ในการกรองน้ำเหลืองทำลายแบคทีเรีย ทำลายเม็ดเลือดขาวที่หมดอายุ และสร้างเม็ดเลือดขาวบางชนิด
-  อวัยวะน้ำเหลือง ( LYMPHATIC ORGAN ) คล้ายกับต่อมน้ำเหลืองแต่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น ม้าม ( SPLEEN ) เยื่อไขกระดูด ( BONE MARROW) ทอนซิน ( TONSIL ) และต่อมไทมัส ( THYMUS GLAND )

                ข้อควรจำ
         การไหลของน้ำเหลืองในท่อเหลือง เกิดขึ้นจากการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆ ท่อน้ำเหลืองนั้น

                ตัวอย่างข้อสอบ
อวัยวะชนิดใดที่ไม่ได้จัดว่าเป็นอวัยวะน้ำเหลือง
ก. ต่อมไทมัส
ข. ม้าม
ค. ต่อมทอนซิน
ง. ตับ
ตอบ ง.

                                                   ภูมิคุ้มกันของร่างกาย
1. ภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด ( INNATE IMMUNITY ) เป็นการป้องกัน และกำจัดแอนติเจนที่มีมาก่อนหน้าที่แอนติเจนเข้าสู่ร่างกาย เช่น การขับ เหงื่อของผิวหนัง ขนจมูกช่วยกรองแอนติเจนต่างๆ LYSOZYME ในน้ำลาย น้ำตาล น้ำมูก ตลอดจนปฏิกิริยารีเฟลกซ์ต่างๆ เช่น การไอ การจาม
2. ภูมิคุ้มกันจำเพาะ ( ACQUIRED IMMUNITY ) เป็นภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับแอนติเจนนั้นๆ ได้แก่
       - ภูมิคุ้มกันก่อเอง ( ACTIVE IMMUNIZATION ) เป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน
โดยการนำสารที่เป็นแอนติเจนที่ทำให้อ่อนกำลัง ไม่สามารถทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ มาฉีด กิน หรือทา เพื่อกระคุ้นให้ร่างกายแอนติบอดีขึ้นมาต่อด้านแอนติเจนชนิดนั้น

                ข้อควรจำ
      วัคซีน ( VACCINE ) ทำมาจากเชื้อโรคที่ทำให้อ่อนกำลัง เช่น ไอกรน ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค วัณโรค โปลิโอ หัด หัดเยอรมัน คางทูม
     ทอกซอยด์ ( TOXOID ) ทำมาจากสารพิษที่หมดสภาพความเป็นพิษ เช่น คอตีบ บาดทะยัก

                 ตัวอย่างข้อสอบ
เหงื่อ น้ำลาย น้ำตา ล้วนมีเอนไซม์ ไลโซโซม์ ซึ่งมีหน้าที่ทำลาย
ก. เซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส
ข. โพรโทซัว
ค. แบคทีเรีย
ง. ไวรัส
ตอบ ค.

คนที่เป็นโรคใดต่อไปนี้ควรให้แอนติบอดีแก่ร่างกายทันที
ก. อหิวาตกโรค
ข. วัณโรค
ค. ไอกรน
ง.  บาดทะยัก
ตอบ ง.

                                   ภูมิคุ้มกันรับมา ( PASSIVE IMMUNIZATION )
-  ซีรัมหรือ เซรุ่ม ( SERUM ) คือ ส่วนน้ำใสของน้ำเลือดของกระต่ายหรือม้าที่ได้รับการกระตุ้นให้สร้างแอนติบอดี มาฉีดให้ผู้ป่วย เช่น คอตีบ พิษงู เป็นต้น
-  น้ำนมที่ทารกๆ ได้รับจากการดูดน้ำนมแม่ และภูมิคุ้มกันที่ทารกในครรภ์ได้รับโดยผ่านทางรก

              ข้อควรจำ
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับถูมิคุ้มกัน
1. พัธุกรรม
2. โภชนาการ เช่น ถ้าขาดวิตามิน A และ C จะลดการทำงานของ ฟาโกไซต์และ T-CELL
3. ยาบางชนิด เช่น ยาพวก คอร์ติโคสเตอรอยต์ จะห้ามการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอย่าง ไม่เฉพาะเจาะจง

               ตัวอย่างข้อสอบ
การให้ทารกดื่มนมมารดา ทารกได้รับภูมิคุ้มกันชนิด
ก. ภูมิคุ้มกันก่อเอง
ข. ภูมิคุ้มกันรับมา
ค. ภูมิคุ้มกันก่อเองและรับมา
ง. ไม่ได้รับภูมิคุ้มกันได้รับแต่สารอาหาร
ตอบ ข.

                                                         ความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน
1. โรคภูมิแพ้ ( ALLERGY )เป็นอาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายมีปฏิกิริยาต่อแอนติเจนบางอย่าง เช่น ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ อาหารทะเลขนสัตว์และอาการเป็นต้น
2. โรคที่ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื่อของตนเอง ( AUTOIMMUNE DISEASES ) เช่น
           - โรคลูปุส หรือเอสแอลอี ( SYSTEMIC LUPUS ERYTHEMATOSUS-SLE) เป็นอาการที่เกิดจากการที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านเซลล์ของตนเอง
3. โรคเอดส์ ( ACQUIRE IMMUNE DEFICIENCY ) เกิดจากเชื้อไวรัส HIV เข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาวชนิด T-cell

                ตัวอย่างข้อสอบ
ผู้ป่วยโรคเอดส์ ควรจะมีเม็ดเลือดขาวชนิดใดน้อยกว่าปกติ
ก. BASOPHIL
ข. EOSINOPHIL
ค. NEUTROPHIL
ง.  LYMPHOCYTE
ตอบ ง.