วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

บทที่20 ระบบประสาทและอวัยวะรับสัมผัส

20. ระบบประสาทและอวัยวะรับสัมผัส


                ระบบประสานงาน(CO-ORDINATING SYSTEM) ประกอบด้วย 2 ระบบย่อยคือ
1.ระบบประสาท(NERVOUS SYSTEM)
2.ระบบฮอร์โมน หรือ ระบบต่อมไร้ท่อ (ENDOCRINE GLAND SYSTEM)

                                           การรับรู้และการตอบสนองของสิ่งมีชีวิต


            ระบบประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วน คือ
1.ระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) ได้แก่ สมอง(BRAIN) และไขสันหลัง (SPIRAL CORD)
2.ระบบประสาทส่วนปลาย(PNS) หรือระบบประสาทรอบนอก ได้แก่เส้นประสาทสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และระบบประสาทอัตโนมัติ(AUTOMATIC NERVOUS SYSTEM)

เซลล์ประสาทประกอบด้วยส่วนสำคัญสองส่วนคือ
1.ตัวเซลล์ (CELL BODY) เป็นส่วนของไซโทพลาสซึมและนิวเคลียส
2.ใยประสาท(NERVE FIBER) คือแขนงเล็กๆ ที่ยื่นออกจากตัวเซลล์ได้แก่
- เดนไดรต์(DENDRITE) นำกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์
- แอกซอน(AXON) นำกระแสประสาทออกจากตัวเซลล์

            ข้อควรจำ
      แอกซอนที่ยาวๆ จะมีเยื่อไมอีลิน(MYELIN SHEATH) ซึ่งเป็นสารพวกไขมันหุ้มอยู่ทำให้ กระแสประสาทเคลื่อนที่ไปได้ เร็วกว่าเซลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มถึงประมาณ 10 เท่า
เซลล์ประสาทแบ่งตามการทำหน้าที่ ได้เป็น 3 ประเภท คือ
1.เซลล์ประสาทรับความรู้สึก(SENSORY NEURON) ทำหน้าที่รับความรู้สึกโดยตรงจากหน่วยรับความรู้สึก
2.เซลล์ประสาทนำคำสั่ง(MOTOR NEURON) ทำหน้าที่ส่งกระแสประสาทมาสั่งการและควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ
3.เซลล์ประสาทประสานงาน(ASSOCIATION NEURON) ทำหน้าที่ประสานงานทั้งในแง่การรับความรู้สึกและการนำคำสั่งภายในสมองและไข สันหลัง

              ข้อควรจำ
      วงจรการทำงานของเซลล์ประสาท ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 3 ระยะคือ
1. ระยะพัก (RESTING STAGE ) หรือระยะ โพลาไรเซชัน (POLARIZATION) มีขบวนการโซเดียมโพแทสเซียมปั๊มพ์(SODIUM POTASSIUM PUMP) เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
2. ระยะดีโพลาไรเซชั่น (DEPOLARIZATION) เป็นระยะที่เซลล์ประสาทถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า
3. ระยะรีโพลาไรเซชั่น (REPOLARIZATION) เป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อที่จะกลับเข้าสู่ระยะพักเช่นเดิม
          การถ่ายทอดกระแสประสาทจากเซลล์ประสาทหนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง   ปลายของแอกซอนและเดนไดรต์อยู่ใกล้ชิดกันมาก เรียกว่าไซแนปส์(SYNAPSE) ปลายแอกซอนจะพองออกเป็นกระเปาะ ภายในกระเปาะมีถุงเล็กๆซึ่งบรรจุสารสื่อประสาท(NEUROTRANSMITTER) ซึ่งสามารถหลั่งออกมาขณะที่เกิดกระแสประสาท ทำให้กระแสประสาทส่งไปในทิศทางเดียว คือ จากแอกซอน ไปยังเดนไดรต์ของเซลล์ถัดไปสารสื่อประสาทมีหลายชนิดเช่น อะซิติลโคลีน(ACETYLCHLOLINE) เอพิเนฟฟริน(EPINEPHRINE) นอร์เอพิเนฟฟริน(NOREPINEPHRINE) โดปามีน(DOPAMINE) เซอโรโทนิน (SEROTONIN) และเอนโดฟิน(ENDOPHINE) เป็นต้น   ศูนย์ควบคุมของระบบประสาท ได้แก่ สมอง และไขสันหลัง
       สมอง (BRAIN) มีลักษณะเป็นหลอดพองออกเต็มศีรษะ ผนังของหลอดประกอบด้วยเซลล์ประสาทประเยื่อเกี่ยวพัน(NEUROGLIA)

           สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ คือ
สมองส่วนหน้า(PROSENCEPHALON) ประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้
1.ซีรีบรัม(CEREBRUM) มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาสมองทั้งหมดมีหน้าที่
- เป็นศูนย์กลางเรียนรู้ ความคิด ความจำ เชาวน์ปัญญา การรับรู้ เช่นการมองเห็น การรับรส กลิ่นเสียง สัมผัส ความเจ็บปวด การพูด และการออกเสียง
- ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลาย
2.ออลแฟคตอรี่ บัลบ์(ALFACTORY BULB) ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดมกลิ่นเจริญได้ดีในปลา
3.ไฮโปทาลามัส(HYPOTHALAMUS) อยู่ด้านล่างของสมองส่วนหน้ายื่นมาติดกับต่อมใต้สมอง มีหน้าที่
- เกี่ยวข้องกับการควบคุมการสร้างฮอร์โมนภายในร่างกาย
- ควบคุมการทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทอัตโนมัติ เช่นการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิในร่างกาย
- เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ ความหิว ความอิ่ม และความรู้สึกทางเพศ
4.ทาลามัส เป็นศูนย์รวมและแยกกระแสประสาท
สมองส่วนกลาง (MESENCEPHALON)

- เป็นสถานีถ่ายทอดกระแสประสาท ระหว่างสมองส่วนหน้ากับสมองส่วนท้าย
สมองส่วนท้าย (RHOMBENCEPHALON)
5.ซีรีเบลลัม (CEREBELLUM)
- ควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
- ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อให้เป็นไปอย่างละเอียดอ่อนสละสลวย
6.เมดูลลาออบลองกาตา(MEDULLA OBLONGATA)
- ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ
- เป็นศูนย์ควบคุมการหายใจ การทำงานของหัวใจ การไอ การจาม การกระพริบตา
7.พอนส์(PONS)
- ควบคุมการเคลื่อนไหวบริเวณใบหน้า เช่น การเคี้ยว การกลืน การยิ้ม การหลั่งน้ำลาย

            ข้อควรจำ
       ก้านสมอง (BRAIN STEM) หมายถึง สมองส่วนกลาง พอนส์ และเมดุลลาออบลองกาตา จะมีกลุ่มเซลล์ประสาทและใยประสาทเชื่อมโยงกันทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมการนอนหลับ ความสติสัมปชัญญะ การหายใจความดันเลือด       อุณภูมิ และ การหลั่งเอนไซม์
                  การทำงานของระบบประสาท
ระบบประสาทแบ่งตามลักษณะการทำงานเป็น 2 แบบคือ
1.ระบบประสาทโซมาติก(SOMATIC NERVOUS SYSTEM ) เป็นระบบที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลาย อยู่ภายใต้การควบคุมของอำนาจจิตใจ

             ข้อควรระวัง
      รีเฟลกซ์อาร์ก หมายถึง วงจรการทำงานของระบบประสาท ที่สามารถทำหน้าที่ในตัวเองได้อย่างสมบูรณ์
รีเฟลกซ์แอกชั่น คือ ปฏิกิริยาโต้ตอบอย่างกะทันหัน เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายโดยไขสันหลังเป็นผู้สั่งงาน
ประกอบด้วยเซลล์ประสาทอย่างน้อย 2 ชนิด คือ เซลล์ประสาทรับความรู้สึก และเซลล์ประสาทนำคำสั่ง เช่น การกระตุกขาเมื่อเคาะใต้หัวเข่า (KNEEJERK REFLEX) การกระตุกขาเมื่อถูกตะปูตำ การหรี่ของม่านตา( PHOTO REFLEX) การไอและการจามเป็นต้น
2.ระบบประสาทอัตโนมัติ (AUTOMATIC NERVOUS SYSTEM) เป็นระบบประสาทที่อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ ประกอบด้วย 2 ระบบย่อยคือระบบประสาทซิมพาเธติก(SYMPATHETIC NERVOUS SYSTEM) และ พาราซิมพาเธติก(PARASYMPATHETIC NERVOUS SYSTEM) การทำงานของสองระบบนี้จะเป็นแบบตรงกันข้าม
      อวัยวะรับสัมผัส
ก. นัยน์ตาและการเห็นภาพ

      ตาประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น คือ
1.ชั้นนอก(SCLERA) เป็นชั้นที่เหนียวไม่ยืดหยุ่น เป็นส่วนที่เรียกว่าตาขาวด้านหน้าสุด คือกระจกตา(CORNEA)
2.ชั้นกลาง (CHOROID) เป็นชั้นที่มีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงและมีรงควัตถุแผ่กระจายอยู่มากมาย ประกอบด้วยม่านตา(IRIS) ซึ่งตรงกลางจะมีรูม่านตา(PUPIL) และเลนส์ตาซึ่งสามารถปรับโฟกัสได้โดยการทำให้นูนขึ้นและบางลง โดยกล้ามเนื้อยึดเลนส์
3.ชั้นใน(RETINA) เป็นชั้นที่ทำหน้าที่คล้ายกับจอรับภาพ ประกอบด้วยเซลล์รับแสง 2 ชนิด คือ
- เซลล์รูปแท่ง(RODCELL)เป็นเซลล์ที่ไวต่อแสง สามารถทำงานได้แม้มีแสงน้อย แต่ไม่สามารถบอกความแตกต่างของสีได้
- เซลล์รูปกรวย(CONE CELL) มี 3 ชนิดคือชนิดที่รับแสงสีแดงสีเขียวและสีน้ำเงินจะทำงานได้ต่อเมื่อต้องมีแสงสว่างเพียงพอ

         ข้อควรจำ
- จุดบอด(BLIND SPOT) เป็นบริเวณที่ไม่มีเซลล์ที่รูปแท่งและรูปกรวยอยู่เลย จึงไม่สามารถรับภาพและแสงได้
- จุดเหลือง (FOVEA) เป็นบริเวณที่มีเซลล์รูปกรวยอยู่เป็นจำนวนมากทำให้รับภาพได้ชัดเจนที่สุด
หูและการรับฟัง

      หูแบ่งเป็น 3 ชนิดคือ
1.หูส่วนนอก (EXTERNAL EAR) เป็นส่วนที่เริ่มตั้งแต่ใบหูถึงเยื่อแก้วหู
2.หูส่วนกลาง(MIDDLE EAR) ประกอบด้วยกระดูกหู 3 ชิ้น ที่มีรูปร่างคล้าย ค้อน ทั่งโกลน ทำหน้าที่รับการสั่นสะเทือนจากเยื่อแก้วหู(TYMANIC MEMBRANE) แล้วเพิ่มความถี่ของเคลื่อนเสียงเพื่อส่งต่อไปยังหูส่วนใน
3.หูส่วนใน

          ข้อควรจำ
หูส่วนในประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ
- SEMICIRCULAR CANAL ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัวของร่างกาย
- COCHLEA ทำหน้าที่เกี่ยวกับการฟัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น